logo-heading

เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายช็อคซีนีม่า วงการฟุตบอลไทยรับศักราชใหม่ เมื่อทีมแข้งแดนสยาม โดนอินเดีย 4-1 ถล่มในเกมแรกเอเชียน คัพ 2019 ส่งผลให้ตัวกุนซืออย่างมิโลวาน ราเยวัช ต้องโดนปลดคาทัวร์นาเมนต์

อันที่จริงหลายๆฝ่ายมองข้ามและประมาทอินเดียจนเกินไป โดยเฉพาะมิโลวาน ราเยวัช ที่ดูเหมือนจะไม่ได้ทำการบ้านคู่แข่ง ผิดกับทางทีมจากแดนภารตะที่มีการเตรียมทีมล่วงหน้าตั้งแต่เดินทางมาที่ยูเออี 2 สัปดาห์ก่อนเริ่มทัวร์นาเมนต์เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศ รวมถึงอุ่นเครื่องกับทีมที่มีอันดับโลกเหนือกว่า ทั้งจีน ซึ่งพวกเขาบุกไปเสมอ 0-0 ตามด้วยการบุกไปแพ้จอร์แดน 1-2 และอุ่นเครื่องนัดสุดท้ายเสมอโอมาน แบบโนสกอร์ อินเดียในเวลานี้เปลี่ยนไปมากจากวันวาน เพราะก่อนเริ่มทัวร์นาเมนต์นายกสมาคมลูกหนังของพวกเขา ประกาศชัดเจนว่าฟุตบอลโลก 2026 พวกเขาจะไปรอบสุดท้ายให้ได้ สาเหตุอะไรที่ทำให้ฟุตบอลอินเดียเปลี่ยนไปเราข้อแบ่งแยกกันที่ละจุด รู้เขาไม่รู้เรา! เจาะลึก "อินเดียโมเดล" พัฒนาที่ก้าวกระโดดลูกหนังโรตี พลังยุคใหม่ของฟุตบอลอินเดีย 1,โครงสร้างฟุตบอลลีกอินเดีย 2.แนวทางการพัฒนาทีมชาติ (การไต่อันดับฟีฟ่า จาก 170 กว่า สู่อันดับ 90 กว่าๆ ได้ภายใน 3 ปี) 3.ศูนย์ฝึกฟุตบอล 4.การพัฒนานักเตะเยาวชน 5.การพัฒนาบุคลากรต่างๆ เช่น โค้ช, ผู้ตัดสิน รู้เขาไม่รู้เรา! เจาะลึก "อินเดียโมเดล" พัฒนาที่ก้าวกระโดดลูกหนังโรตี
เริ่มตั้งแต่ฟุตบอลลีกเพื่อง่ายต่อความเข้าใจฟุตบอลลีกอินเดีย “ISL” = Indian Super League ลีกที่เกิดใหม่ ปี 2014 และประสบความสำเร็จมากในขณะนี้ “I-League” = Hero I-League ลีกดั้งเดิมของอินเดีย ที่ยังคงแข่งขันอยู่ แม้จะมี ISL เกิดขึ้นมาก็ตาม “AIFF” = สมาคมฟุตบอลประเทศอินเดีย “IMG” = บริษัทจัดการธุรกิจกีฬา พื้นฐานทางภูมิศาสตร์ของอินเดียแม้จะเป็นประเทศใหญ่ ประชากรเยอะมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก เศรษฐกิจค่อนข้างดี แต่ความเหลื่อมล้ำทางฐานะของประชากรก็ยังแย่อยู่ ส่วนเรื่องกีฬาอาชีพ คนประเทศนี้บ้าคริกเกตมาเป็นอันดับ 1 บ้าขนาดไหนคิดดูว่า ลีกคริกเก็ตของอินเดียจัดว่าเป็นลีกชั้นนำระดับโลก นักกีฬาคริกเก็ตจัดเป็นนักกีฬาที่มีรายได้สูงที่สุดของประเทศ และนับเป็นกีฬาประจำชาติอย่างแท้จริง ส่วนฟุตบอลยังมีคำถามตามมาพอสมควร แม้ในความจริงอินเดียมีการแข่งขันฟุตบอลมายาวนานกว่าร้อยปีแล้ว เรียกได้ว่าเป็นชาติแรกๆในเอเชียที่เล่นฟุตบอล ส่วนหนึ่งเพราะคงได้รับอิทธิพลมาจากการเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษ มีทีมชั้นนำอย่างโมฮัน บากัน อดีตต้นสังกัดของดุสิต เฉลิมแสน ที่ตั้งอยู่ในเมืองโกลกาตามีอายุยาวนานกว่า 128 ปี นับเป็นสโมสรที่เก่าแก่ที่สุดของทวีปเอเชีย และที่เมืองนี่เองเป็นต้นกำเนิดฟุตบอลในอินเดีย ก็ได้กำเนิดอีกทีมในเวลาต่อมาคืออีสต์ แบงกอล ในปี 1920 หรือ 98 ปี การกำเนิดทีมใหม่ก็เกิดจากความขัดแย้งของผู้บริหารของโมฮัน บากันนั่นเอง รู้เขาไม่รู้เรา! เจาะลึก "อินเดียโมเดล" พัฒนาที่ก้าวกระโดดลูกหนังโรตี ความขัดแย้งของเชื้อชาติและรากเหง้าคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ดาร์บี้แมตช์แห่งเมืองโกลกาตา ระหว่าง โมฮัน บากัน vs อีสต์ แบงกอล กินเวลามาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นดาร์บี้สโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดติดอันดับท็อปเท็นของโลก การเจอกันแต่ละครั้งคนดูเหยียบแสนคน สถิติการเจอกันของคู่นี้ที่มีคนดูมากที่สุดเกิดขึ้นในฟุตบอลถ้วย รอบรองชนะเลิศปี 1997 นัดนั้นได้รับการบันทึกว่ามีคนดูในสนามถึง 131,000 คน รู้เขาไม่รู้เรา! เจาะลึก "อินเดียโมเดล" พัฒนาที่ก้าวกระโดดลูกหนังโรตี ความยิ่งใหญ่ของ ดาร์บี้แมตช์แห่งเมืองโกลกาตา ยังถูกสร้างเป็นสารคดีกีฬาในสื่อยักษ์ใหญ่มาแล้วทั่วโลก แม้แต่เวปไซต์ของฟีฟ่าเองยังต้องนำเสนอข่าวแทบทุกครั้งที่คู่นี้แข่งขันกัน ทว่าแม้ โมฮัน บากัน และ อีสต์ แบงกอล รวมถึงทีมชั้นนำอื่นๆจะมีแฟนบอลจำนวนมากก็ตาม แต่ฟุตบอลลีกก็ยังคงลุ่มๆดอนๆ และหลายๆ ครั้งก็มีทีมที่ต้องล้มหายจากไป AIFF จึงเริ่มหันมาทบทวนว่า พวกเขาจะทำยังไงที่จะทำให้ฟุตบอลลีกภายในประเทศมีมูลค่ามากยิ่งขึ้นและทำยังไงที่จะบริหารสิทธิประโยชน์ให้สโมสรยืนหยัดได้ ว่าแล้วก็ไปเซ็นสัญญาจ้าง International Management Group หรือ IMG บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการบริการธุรกิจกีฬาจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาบริหารด้านการตลาดและดูแลสิทธิประโยชน์ขอฟุตบอลลีกอินเดีย IMG นับเป็นบริษัทบริหารธุรกิจกีฬาระดับต้นๆของโลก มีประสบการณ์บริหารการแข่งขันกีฬาชั้นนำระดับโลกมาแล้วหลายรายการ ตั้งแต่ บาสเกตบอล, วอล์เลย์บอล, เทนนิส, กอล์ฟ, รถแข่ง รวมไปถึงงานประกวดนางงามจักรวาล AIFF เซ็นสัญญาจ้าง IMG ถึง 300 กว่าล้านบาทไทยในสัญญา 15 ปี เริ่มเข้ามาบริหารฟุตบอลลีกอินเดียตั้งแต่ปี 2010 แน่นอนว่า ค่าจ้างสูง ความคาดหวังก็ย่อมสูง IMG มองแล้วว่า I-League รูปแบบเดิม บวกกับความไม่เป็นมืออาชีพของสโมสร เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา พวกเขาจึงจัดตั้งลีกฟุตบอลใหม่ขึ้นมาคือ Indian Super League (ISL) นั่นหมายความว่า I-League ยังคงอยู่ แต่จะมีอีกหนึ่งลีกมาแข่งเป็นคู่ขนานก็คือ ISL เท่ากับอินเดียจะมีลีกสูงสุดสองลีกนั่นเอง กำเนิด ISL ISL จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2014 ภายใต้การบริหารอย่างเต็มตัวของ IMG โดยมีกลุ่มทุนภาคเอกชนและสื่อกีฬายักษ์ใหญ่ของอินเดีย ร่วมมือกับสมาคมฟุตบอล จัดฟุตบอลลีกรูปแบบใหม่ โดยมี 8 ทีมเข้าแข่งขันและไม่มีการตกชั้น 8 ทีมก่อตั้งของ ISL นั้นก็ไม่ได้มาจาก I-League แต่มาจากทีมที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ โดย IMG กระจายทีมใน 8 เมืองสำคัญเมืองละ 1 ทีม เช่นเดียวกับคริกเก็ตลีกอินเดีย และให้กลุ่มทุนภาคเอกชนเข้ามาประมูลบริหารทีม แน่นอนว่า มหาเศรษฐีอินเดีย บริษัทเอกชน และกลุ่มทุนธุรกิจจากต่างประเทศ โดดเข้ามาร่วมประมูลทีมอย่างคับคั่ง ตัวอย่างเช่น มุมไบ ซิตี้ ได้ Rabin Kapoor ดาราชั้นนำของอินเดียเข้ามาเป็นเจ้าของทีม IMG ไม่ได้ต้องการให้ทีมสโมสรใน ISL เป็นแค่ของเล่นเศรษฐี แต่ต้องการให้เศรษฐีเหล่านั้นนำเงินมาพัฒนาวงการฟุตบอลอย่างจริงจัง ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาประมูลทีมจะต้องเสนอแผนงานบริหารสโมสรระยะยาว แสดงสถานะทางการเงิน การปรับปรุงพัฒนาสนาม รวมไปถึงการพัฒนาฟุตบอลระดับรากหญ้าในท้องถิ่น โดยเฉพาะการพัฒนาฟุตบอลเยาวชน ISL ยังรุกคืบจับมือกับ Star sport สถานนีโทรทัศน์ชื่อดังเพื่อทำการถ่ายทอดสดการแข่งขัน และเป็นพาร์ทเนอร์กับสื่อเอนเตอร์เทนเมนท์อีกหลายเจ้าเพื่อเข้ามาสร้างกิจกรรมการแข่งขันให้คนดูฟุตบอลได้รับความสุขมากกว่าการเข้ามาดูฟุตบอลในแมตช์หนึ่งเท่านั้น กลยุทธ์ที่ทำให้ ISL ฮือฮามากๆ กลายเป็นที่พูดถึงในวงการฟุตบอลระดับโลกเกิดจากกฎ “Marquee Player Rule” ที่ให้แต่ละสโมสรดึงนักเตะต่างชาติได้ 1 คน และเป็นนักเตะที่เคยผ่านทัวร์นาเมนต์ระดับโลก พูดง่ายๆว่าเป็นซุปเปอร์สตาร์ที่โลกลูกหนังรู้จัก และพวกเขาก็ได้แข้งชื่อดังวัย 30 ปลายๆ อย่างเช่น อเลสซานโดร เดล ปิเอโร่, โรแบร์ต ปิแรส, เดวิด เทรเซเกต์, หลุยส์ การ์เซีย, เฟเดอริก ลุงเบิร์ก ร่วมโม่แข้งในลีกประวัติศาสตร์ของชาวอินเดีย รู้เขาไม่รู้เรา! เจาะลึก "อินเดียโมเดล" พัฒนาที่ก้าวกระโดดลูกหนังโรตี เท่านั้นยังไม่พอ ISL ยังมีกฎ Player Drafts หรือการดราฟท์ตัวผู้เล่นเหมือนอเมริกันฟุตบอลของสหรัฐอเมริกา (หากผู้อ่านท่านใดไม่เข้าใจเรื่องการดราฟท์ ผมขอแนะนำหนังดีๆเรื่องนึงที่อยากให้ดูชื่อ Draft Day ครับ) และการดราฟท์นี้ยังมีทั้งผู้เล่นอินเดียและผู้เล่นต่างชาติ แคมเปญของ ISL ทั้ง Marquee Player Rule & Player Drafts จึงเป็นทั้งในด้านเทคนิคการแข่งขัน และการตลาดที่ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ฟุตบอลลีกอินเดียได้รับความสนใจ สู้กับการแข่งขันคริกเกตที่เป็นกีฬายอดนิยมของอินเดีย เพราะนั่นหมายความว่า แฟนบอลอินเดียจะได้ดูนักเตะระดับโลกอย่างใกล้ชิดและการจัดการแข่งขันอย่างมืออาชีพ และมันเหมือนจะได้ผล เพราะเพียงฤดูกาลแรก 2014 ISL มีผู้ชมเฉลี่ยต่อนัดสูงถึง 26,000 กว่าคน!! สโมสรที่เข้าร่วมได้รับส่วนแบ่งทั้งค่าสนับสนุนทีม สปอนเซอร์ และเงินรางวัลอย่างล้นหลาม แม้ในปีต่อๆ มา ยอดผู้ชมเฉลี่ยจะตกหล่นลงมาบ้าง แต่ถึงกระนั้น ISL ก็ยังติด Top 5 ลีกฟุตบอลที่มีผู้ชมสูงสุดในทวีปเอเชีย โดยเป็นลีกที่มีผู้ชมอันดับ 2 ของทวีป รองจากไชนีส ซุปเปอร์ ลีก ของจีนเท่านั้น กลับมาดูที่ I-League ลีกดั้งเดิมของอินเดียก็ยังคงแข่งขันเช่นกัน และมี 10 ทีม บนลีกสูงสุด และมีระบบขึ้นชั้นตกชั้น (ต่างจาก ISL ที่ไม่มีตกชั้น) และยังคงมีทีมเก่าแก่ซึ่งเป็นทีมยักษ์ใหญ่อยู่หลายทีมที่ยังคงเล่นใน I-League เช่น Mohun Bagan และ East Bengal ส่วนยอดเฉลี่ยผู้ชมในฤดูกาลล่าสุดมี 10,000 กว่าคนต่อนัด ซึ่งน้อยกว่า ISL ถึงเท่าตัว แต่จำนวนนี้ก็ยังมากกว่าไทยลีกของบ้านเรา เมื่อ ISL ประสบความสำเร็จมากกว่า I-League ดราม่าประวัติศาสตร์ลีกอินเดียก็เกิดขึ้น เมื่อ Bengaluru ทีมยักษ์ใหญ่แห่ง I-League กลายเป็นทีมแรกที่ย้ายไปเล่นใน ISL เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม I-League ยังถือความได้เปรียบ ISL อยู่อย่างหนึ่งก็คือโควต้าไปแข่งขันระดับสโมสรเอเชีย AIFF ยังคงให้สิทธิทีมแชมป์จาก I-League ได้ไปแข่งเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนส์ ลีก ส่วนแชมป์ ISL ได้สิทธิแข่งเอเอฟซี คัพ ทางออกที่ดีที่สุดและแฟนบอลหวังกันคือการรวม ISL และ I-League ให้เป็นลีกเดียวกัน แต่การรวมลีกคงยากและยังไม่เกิดขึ้นเร็วๆนี้ โดยเฉพาะเรื่องของสปอนเซอร์ที่สนับสนุน ISL และ I-League ซึ่งต่างมีสัญญาและเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของอินเดีย AIFF จึงวางแผนควบรวมไปทีละขั้น โดยเริ่มจากไอเดียจัดทัวร์นาเมนต์ให้ทั้งสองลีกได้มาแข่งกันในชื่อรายการ Super Super Cup แหม่! เป็นการบอกว่ารายการนี้มันซุปเปอร์ของซุปเปอร์ที่สุดแล้วที่สองลีกจะได้มาเตะกัน หาแชมป์ที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย เป้าหมาย่ของ AIFF คือจัดรายการนี้ให้ได้ภายในปีหน้านั่นเอง นอกจากสองลีกคู่ขนานทั้ง ISL และ I-League แล้ว หลายๆรัฐยังมีฟุตบอลลีกแข่งเป็นของตัวเอง เช่น รัฐปัญจาบ ยังมีฟุตบอลลีกแข่งเป็นของตัวเอง ซึ่งก็เป็นเวทีชั้นดีให้กับผู้เล่นดาวรุ่งและผู้เล่นท้องถิ่นได้มีเกมเล่น และใน I-League ปีล่าสุด ทีมแชมป์ก็มาจากรัฐปัญจาบ คือ Minerva Punjab F.C. ศูนย์ฝึกฟุตบอลอินเดีย AIFF Elite Academy รู้เขาไม่รู้เรา! เจาะลึก "อินเดียโมเดล" พัฒนาที่ก้าวกระโดดลูกหนังโรตี กระแสฟุตบอลลีกที่คนทั้งประเทศเริ่มให้ความสนใจ แต่ลีกที่ได้รับความนิยมอย่าง ISL เริ่มกันมามีเพียง 8 ทีม และช่วงแรกๆยังมีนักเตะต่างชาติลงเป็น 11 คนแรกได้ถึง 6 คน ยังไม่รวมตัวสำรองต่างชาติที่เปลี่ยนลงมาเล่นได้อีก ส่วน I-League แม้จะมี 10 ทีม แต่ก็มีกฎต่างชาติลงเล่นได้ถึง 5 คน เช่นกัน นั่นจึงเป็นคำถามว่า นักเตะอินเดียท้องถิ่นแท้ๆ จะมีตัวเลือกและจะถูกปั้นสู่ทีมใหญ่ๆในลีกสูงสุดได้อย่างไร สมาคมฟุตบอลอินเดียรู้ดีว่านี่คือปัญหาแน่ๆ ดังนั้นก่อนจะเปิดลีกเพียงหนึ่งปี ในปี 2013 พวกเขาจัดการปรับปรุงศูนย์ฝึกฟุตบอลเยาวชนครั้งใหญ่ เดิมทีศูนย์ฝึกแห่งนี้เปิดตัวในเมืองกัว ตั้งแต่ปี 2008 แต่สมาคมมาปรับปรุงครั้งใหญ่ในแคมเปญใหม่เมื่อปี 2013 ภายใต้ชื่อ AIFF Elite Academy ด้วยการเป็นที่เก็บตัวฝึกซ้อมของเยาวชนอย่างครบวงจร มีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบที่ทีมในระดับโลกมี และยังเป็นศูนย์อบรมบุคลากร เช่น โค้ช, นักกายภาพ สมาคมฟุตบอลอินเดียยังขยายศูนย์ฝึกนี้ไปอีกหลายเมืองใหญ่เพื่อรองรับการเติบโตของฟุตบอลที่พวกเขาเชื่อว่า เด็กรุ่นใหม่จะชอบ India Super League และหันมาเล่นฟุตบอลมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการจัดการแข่งขันฟุตบอลยูธลีก ตั้งแต่รุ่นอายุ 12-19 ปี ในเมืองต่างๆ และหาตัวแทนแชมป์เข้ามาแข่งขันในรอบชิงแชมป์ประเทศ ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่สตาฟท์โค้ชทีมชาติจะคัดเด็กแต่ระลุ่นเข้าสู่ AIFF Elite Academy AIFF ทุ่มทุนกับโครงการนี้อย่างมาก โดยจ้างโค้ชและเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมาบริหารงาน เพื่อฝึกเยาวชนหัวกะทิที่คัดมาจากในภูมิภาคนั้นๆ และเป็นที่พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในวงการฟุตบอล เช่น โค้ช, นักกายภาพ, ผู้ตัดสิน ขณะเดียวกัน AIFF ยังส่งทีมเยาวชนชุด 19 ปี เข้าแข่งขันใน I-League ในชื่อทีม Indian Arrows เพื่อฟูมฟักแข้งเยาวชนก่อนจะออกไปค้าแข้งอาชีพกับสโมสรต่างๆ รางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยมในลีกและการปรับโควต้าผู้เล่นต่างชาติ ในปี 2015 ฟุตบอลลีกอินเดียเริ่มมีการมอบรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมในแต่ละแมตช์ ย้ำว่าในแต่ละแมตช์ คือในทุกๆนัดจะต้องมีรางวัลนักเตะดาวรุ่งด้วย โดยมี 2 รางวัลแยกกันชัดเจน คือ Hero of the match (รางวัลนักเตะยอดเยี่ยม) และรางวัล Emerging Player Of The Match ที่มอบให้กับแข้งนักเตะดาวรุ่งของอินเดีย รางวัลนี้เป็นอีกหนึ่งแคมเปญในการกระตุ้นให้สโมสรปั้นนักเตะดาวรุ่งและส่งลงเล่นทุกนัด และในปี 2018 นี้เองที่ ISL ขยับเพิ่มจาก 8 ทีมมาเป็น 10 ทีม พร้อมกฎต่างชาติที่ลดลง โดยลงเล่นได้เพียง 5 คน รวมทั้งในอนาคตสมาคมฟุตบอลอินเดียยังวางแผนที่จะเพิ่มทีมในปีต่อๆไป พร้อมกับลดโควต้านักเตะต่างชาติให้ได้ตรงตามการแข่งขันของเอเอฟซี (3+1) รวมถึงการบังคับให้ทุกทีมต้องส่งนักเตะอายุไม่เกิน 23 ปี ลงเล่น 11 ตัวจริงอย่างน้อยนัดละ 2 คน เพื่อรองรับการเติบโตของผู้เล่นเยาวชนอินเดียจากศูนย์ฝึกฟุตบอลทั่วประเทศ ทีมชาติอินเดียในยุคปัจจุบัน
  รู้เขาไม่รู้เรา! เจาะลึก "อินเดียโมเดล" พัฒนาที่ก้าวกระโดดลูกหนังโรตี
สตีเฟ่น คอนแสตนติน เฮดโค้ชทีมชาติอินเดีย นับเป็นโค้ชที่มีประสบการณ์มากในแถบเอเชียใต้ โค้ชชาวอังกฤษรายนี้เคยคุมทีมชาติอินเดียมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2002-2005 ก่อนจะกลับมาคุ้มนักเตะแดนภารตะอีกครั้งเมื่อมกราคม ปี 2015 จนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่า คอนแสตนตินวางรากฐานทีมชาติอินเดียชุดนี้อย่างเป็นระบบ และยังได้รับการสนับสนุนที่ดีจาก AIFF ในการจัดหาทีมมาอุ่นเครื่องอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทีมที่มี Ranking ฟีฟ่าเหนือกว่าแต่พวกเขาเชื่อว่าจะเอาชนะได้ ในเวลา 3 ปีกว่าๆ คอนแสตนตินเขาพาแข้งบลู ไทเกอร์ ไต่อันดับฟีฟ่าแรงกิ้ง จากอันดับที่ 166 ของโลกในปี 2015 พุ่งพรวดขึ้นมาอยู่อันดับที่ 97 ในปัจจุบัน (เหนือกว่าไทยอันดับที่ 118) รู้เขาไม่รู้เรา! เจาะลึก "อินเดียโมเดล" พัฒนาที่ก้าวกระโดดลูกหนังโรตี โดยขุมกำลังทีมชาติอินเดียชุดนี้เป็นแข้งวัยหนุ่ม มีอายุเฉลี่ยทั้งทีมคือ 25 ปี แต่ก็มีแข้งตัวเก๋าที่อันตรายอย่าง Sunil Chhetri วัย 34 ปี ซึ่งเป็นเจ้าของสถิตินักเตะที่ติดทีมชาติอินเดียมากที่สุดและยิงประตูได้มากที่สุด (ซึ่งเพิ่งจัดการยิงไทย2เม็ด) ส่วนขุมกำลังรายอื่นๆ เป็นแข้งดาวรุ่งที่สตีเฟ่น คอนแสตนติน ใช้เวลาฟูมฟักมากว่า 3 ปี ระบบ ทีมเวิร์ค และความต่อเนื่องของอินเดียชุดนี้นับว่าเป็นจุดแข็งเลยทีเดียว ทิศทางแนวโน้มของฟุตบอลอินเดียต่อจากนี้น่าจับตามองมาก กับการพัฒนาขึ้นมาหลายอย่าง ทั้งฟุตบอลลีก และผลงานทีมชาติ   ขอบคุณภาพและข้อมูลจากแฟนเพจสารานุกรมบอลไทย, the-aiff.com/index.htm
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของ ขอบสนาม
logoline