logo-heading

ฟุตบอลกับความทรงจำเปรียบเสมือนของคู่กันแทบทุกยุคทุกสมัย ยิ่งโมงยามที่เรามีความสุข ชนะคือสิ่งหอมหวาน เฉกเช่นเดียวกับความพ่ายแพ้มันคือเรื่องยากที่จะลืมเลือน

บทบันทึกถ้วยพระราชทานคิงส์ คัพ โม่แข้งกันมาเนิ่นนาน 50 ปี สร้างเกียรติภูมิแก่ผู้เล่นที่สวมเสื้อธงไตรรงค์หน้าอกซ้าย ภาคภูมิใจกับการลงสนามรายการนี้เยี่ยงหนัก ทว่าคนส่วนใหญ่มักนึกคิดถึงแต่สตาร์ดัง จนบางทีก็ไม่จดจำว่าใครคือโค้ชที่สร้างความสำเร็จให้แก่แวดวงลูกหนังไทย ทีมชาติไทยครองแชมป์มากสุดเป็นประวัติศาสตร์ 15 สมัย มีการผลัดเปลี่ยนโค้ชมากหน้าหลายตามาแล้วนับไม่ถ้วน ขอบสนาม ขอหยิบยก ยอดโค้ชจอมวางหมาก ผู้ขับเคลื่อนทีมชาติไทย ครองโทรฟี่แชมป์คิงส์ คัพ ตลอดระยะเวลา 50 ปี มีใครบ้างนั้น เชิญเลื่อนเมาท์อ่านเรื่องราวทุกตัวอักษรด้านล่างได้เลยฮะ ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง คิงส์ คัพ ครั้งที่ 12 พ.ศ.2522 (1979) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ วิชิต แย้มบุญเรือง บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าบุคลากรชั้นยอดยุทธจักรลูกหนัง เนื่องจากเก่งในวิชาการและยังก้าวสู่แข้งทำเนียบทีมชาติ แต่น้อยคนจะรู้ว่า “ด็อกเตอร์ลูกหนัง” เคยขยับสู่บทบาทหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย คิงส์ คัพ ครั้งที่ 12 พ.ศ.2522 (1979) เป็นหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึก ขุนพลของอ.วิชิต พวกเขาอยากใส่เต็มร้อยเพื่อซิวแชมป์คิงส์ คัพ แบบโดดเดียว ไม่ต้องอยู่ในอรรถรสครองโทรฟี่เกียรติยศร่วมกับชาติไหนอีกแล้ว ไทย ชุดเอ ภายใต้การฝึกสอนโดย “ด็อกเตอร์ลูกหนัง” แกร่งกว่าคู่ต่อกรทุกทีมในทัวร์นาเมนต์ ฝ่าด่านทั้งศรีลังกา, อินโดนีเซีย จนกระทั่งเกาหลีใต้ ในรอบชิงดำ ลูกยิงจากปลายสตั๊ด ดาวยศ ดารา เพียงพอทำให้ นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ ได้ชูถ้วยคิงส์ คัพ ในฐานะกัปตันทีมชาติ พร้อมกับหลั่งน้ําตา เมื่อประกาศอำลายูนิฟอร์มธงไตรรงค์หลังจบเกม นาวาอากาศเอกศุภกิจ มีลาภกิจ คิงส์ คัพ ครั้งที่ 13 ปีพ.ศ.2523 (1980), ครั้งที่ 23 ปีพ.ศ.2535 (1992) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ ตำนานนักเตะและกุนซือของสโมสรทหารอากาศ เข้ามารับเผือกร้อนทำทีมชาติไทยเป็นหนแรก คิงส์ คัพ ครั้งที่ 13 ปีพ.ศ.2523 (1980) เป็นภารกิจหนักหนาสาหัส เนื่องจากต้องแบกศักดิ์ศรีความเป็นแชมป์เก่าเอาไว้บนบ่า โค้ชเจ้าของฉายา “อินทรีดำ” พาแข้งเมืองหลวง เล่นบอลสไตล์บู๊บุ๋นใส่คู่แข่งตั้งแต่รอบแรก ผ่านทั้งทหารบกเกาหลีใต้,วาสเตเรีย จากสวีเดน,มาเลเซีย,อินโดนีเซีย กระทั่งแม่นโทษดับทีมชาติเกาหลีใต้ ป้องกันโทรฟี่เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน ถัดจากนั้น 12 ปี นาวาโทศุภกิจ คัมแบ็คกลับมาวางหมาก พร้อมด้วยลูกขุนพลคู่ใจจากทีมลูกทัฟฟ้าหลายราย เช่น ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, ประทีบ ปานขาว, ไพโรจน์ พ่วงจันทร์, สมศักดิ์ คำมณี, ส่งเสริม มาเพิ่ม ช่วยกันพาแข้งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รักษาแชมป์คิงส์ คัพ ครั้งที่ 23 ปีพ.ศ.2535 (1992) ได้อีก 1 สมัย เสนอ ไชยยงค์ คิงส์ คัพ ครั้งที่ 16 ปี คาบเกี่ยวปีพ.ศ.2526-2527 (1983-84) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ สมาคมลูกหนังไทยในเวลานั้น มีเวลาเตรียมทีมคิงส์ คัพ ครั้งที่ 16 ปี คาบเกี่ยวปีพ.ศ.2526-2527 (1983-84) น้อยมากเนื่องมาจากทีมไปให้น้ำหนักคัดเลือกฟุตบอลชายปรีโอลิมปิก ที่รออยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ อ.เสนอ ไชยยงค์ จึงถูกแต่งตั้งเป็นกุนซือทีม แข้งดังชุดนั้นร่วมทีมกันพร้อมหน้าพร้อมตา สมปอง นันทประภาศิลป์, ชลอ หงษ์ขจร, มาด๊าด ทองท้วม, ชลิต สัตตบรรณ, เฉลิมวุฒิ สง่าพล และที่ขาดไม่ได้ ดาราแม่เหล็ก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เสนอ นำศาสตร์ลูกหนัง แบบฉบับโททัล ฟุตบอล มาสร้างสรรค์ ให้ผู้เล่นชุดดังกล่าว วิธีการดังกล่าวช่วยกระตุ้นความเป็นยอดเพชรฆาต “เดอะตุ๊ก” กระหน่ำคู่แข่งถล่มทลาย 9 ประตู พาทีมออกมาได้แชมป์คิงส์ คัพ ครั้งที่ 16 ไปครองได้แบบไร้ข้อกังขา ประวิทย์ ไชยสาม คิงส์ คัพ ครั้งที่14 พ.ศ.2524 (1981), ครั้งที่15 พ.ศ.2525 (1982) ครั้งที่20 พ.ศ.2532 (1989) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ ว่ากันว่าตามพงศาวดารลูกหนังไทย หาก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน คือนักเตะตลอดกาลที่เก่งสุดตลอดกาลของสยามประเทศ ประวิทย์ ไชยสาม ก็คือบรมครูชั้นหมายเลข 1 ของศาสตร์ด้านการวางแผนแบบไม่ต้องสงสัย สายตาที่แหลมคมค้นหานักเตะ จิตวิทยาปลูกเร้าลูกทีม แท็คติกวิธีการเล่นที่หลากหลาย ยากคาดเดา รูปแบบการฝึกซ้อมที่ไม่เหยาะแหยะ และใจนักเลงพอควร จึงเป็นที่มาของฉายา “โค้ชเทวดา” ชายหนุ่มจากนครปฐม ผู้ไม่เคยผ่านมีโปรไฟล์การเป็นนักฟุตบอล เขาเป็นเพียงแค่ข้าราชการครูสังกัดกรมพละศึกษา แต่จับพลัดจับผลู มาทำหน้าที่แมวมองทีมชาติพ่วงตำแหน่งเฮดโค้ชราชประชา เมื่อโอกาสมาถึงตรงหน้าในการกุมบังเหียนทีมชาติชุดคิงส์ คัพ ครั้งที่14 พ.ศ.2524 (1981) เขาจึงคว้ามันเอาไว้ และนี่คือการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต ทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว อ.ประวิทย์ นำแข้งล่มแม่น้ำเจ้าพระยา รักษาแชมป์คิงส์ คัพ บนแผ่นดินเกิดได้แล้ว ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เด็กโนเนมในวันวานก็เปรี้ยงปร๊างซัลโว คู่แข่ง 5 ลูก ซึ่ง 2 ใน 5 ประตู มาจากการยิง อาร์มี่เกาหลีเหนือ ในรอบชิง 2-1 นอกจากจะนำทีมคว้าแชมป์ในปีดังกล่าวได้แล้ว อ.ประวิทย์ ไชยสาม ยังจารึกชื่อในแก่ตนเอง นำแข้งไตรรงค์ คว้าแชมป์ถ้วยพระราชทานอันทรงเกียรติ ได้ 2 สมัย ปี พ.ศ.2525 (1982) และ ปี 2532 (1989) ซึ่งจวบจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีใครทำทีมชาติเจ๋งพอนำทีมชาติไทย ได้แชมป์เท่าโค้ชผู้ล่วงลับมาก่อนเลย คาร์ลอส โรแบร์โต้ คาร์วัลโญ่ คิงส์ คัพ ครั้งที่21 พ.ศ.2533 (1990) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ อ.ประวิทย์ ไชยสาม ส่งผลให้องค์กรลูกหนังไทย ต้องเฟ้นหาผู้นำทัพลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาคนใหม่ อย่างเร่งด่วน สุดท้ายหวยไปออกที่ มร.คาร์ลอส โรแบร์โต้ คาร์วัลโญ่ กุนซือผู้อิมพอร์ตจากบราซิล ตำนานแข้งโบตาโฟโก้ ไม่สนใจที่สตาร์หันหลังให้ทีมชาติ เงื่อนไขทำทีมจำกัด คาร์ลอส ใช้วิธีการเฟ้นหาแข้งหน้าใหม่ที่อยากมีธงไตรรงค์ติดหน้าอกซ้าย ด้วยการคัดตัวแบบโอเพ่น เพื่อเตรียมทีมคิงส์ คัพ ครั้งที่ 21 ปีพ.ศ.2533 (1990) แน่นอนว่าทีมชาติไทย ยุคไร้แข้งดัง กลับเล่นฟุตบอลด้วยระบบทีมเวิร์ค สู้ยิบตาตั้งแต่รอบแรกกระทั่งนัดชิงฯ เอาชนะโรเตอร์ โวลโกกราด สโมสรจากลีกสหภาพโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน) จากการต่อเวลาพิเศษ 2-1 หลังจบเกมนัดดังกล่าวสื่อมวลชนไทยในยุคนั้นชื่นชม คาร์ลอส ที่สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ และยังมอบฉายาทีมชาติไทยใหม่ด้วยว่า “แซมบ้าอาเซียน” ชัชชัย พหลแพทย์ คิงส์ คัพ ครั้งที่25 พ.ศ.2537 (1994) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ “โค้ชจอมฟิต” ตำนานลูกหนังไทยจากสโมสรธนาคารกรุงเทพฯ เขาคือ 1 ใน 18 ขุนพลทีมชาติไทย ชุดโอลิมปิก 1968 ณ ประเทศเม็กซิโก “น้าชัช” ของคนฟุตบอล มักจี่คุ้นเคยตำแหน่งสต๊าฟฟ์โค้ชทีมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาอย่างช้านาน เมื่อได้โอกาสจาก “บิ๊กหอย” ธวัชชัย สัจจกุล อุปนายกลูกหนังไทย เพื่อปลุกเสกแข้งโนเนม ดรีมทีม ในฐานะโค้ชใหญ่ ชัชชัย จึงไม่เสียเวลาคิดทันที ฟุตบอลสไตล์โค้ชจอมฟิตทั้งร่างกายและจิตใจ ถูกใส่เข้าสู่ดีเอ็นเอ ดุสิต เฉลิมแสน, ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล, เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ตะวัน ศรีปาน ฯลฯฯ ทุกวัน เมื่อทุกอย่างลงล็อค สำหรับดรีมทีม หรือไทยแลนด์ บี ในคิงส์ครั้งที่ 25 ปีพ.ศ.2537 (1994) คือเรื่องราวที่เล่าขานไม่รู้จักจบสิ้น ชัชชัย นำดาวรุ่งโนเนม สายเลือดไทย เล่นบอลไฟท์เตอร์ สไตล์เดินหน้าฆ่ามัน กับคู่ต่อกรทุกทีม ตั้งแต่รอบแรกถึงรอบชิง การผ่านญี่ปุ่น, จีน, โรเตอร์ โวลโกกราด จนปราบทีมสมัครเล่นแคว้นเวสต์ฟาเล่น ไปแบบชนะใจคนดูรอบสนามศุภชลาสัย 4-0 กลายเป็นชุดบี ทีมแรกและทีมเดียวที่ครองแชมป์ถ้วยพระราชทานคิงส์ คัพ ส่วนแข้งชุดดังกล่าวกลายเป็นสตาร์ดังในเวลาต่อมา ปีเตอร์ วิธ คิงส์ คัพ ครั้งที่31 พ.ศ.2543 (2000) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ ตำนานแข้งดังทีมชาติอังกฤษ ของแอสตัน วิลล่า ถูกแต่งตั้งให้ทำทีมชาติไทย ชุดเอเชี่ยน เกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อครั้งที่ไทย รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพ จนเข้าป้ายในฐานะอันดับ 4 ว่ากันตามตรงนี่คือโค้ชชาวต่างชาติที่ประสบความสำเร็จในสมรภูมิลูกหนังไทย แชมป์อาเซียน คัพ, ซีเกมส์, คิงส์ คัพ รวมไปถึงฝ่าฝันเข้ารอบ10 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2002 โซนเอเชีย คิงส์ คัพ ปี 2000 นับเป็นงานท้าท้าย ปีเตอร์ เนื่องจาก ฟินแลนด์,เอสโตเนีย และบราซิล ชื่อที่เอ่ยมาในเบื้องต้น อันดับโลกเหนือกว่าไทย แทบทั้งสิ้น แข้งธงไตรรงค์ อาจจะเสียฟอร์ม โดนทัพนักเตะแซมบ้า ชื่อก้องโลก อัดยับไม่ไหวหน้า 7-0 ถึงกระนั้นความเก๋าประสบการณ์โค้ชของ ปีเตอร์ วิธ ดีพอนำไทยเข้าชิงชนะเลิศกับฟินแลนด์ โดยมีแฮตทริกฮีโร่ ชื่ออนุรักษ์ ศรีเกิด *คิงส์ คัพ ปี 2000 ทีมชาติบราซิล ชุดใหญ่ มาลงเตะกับทีมชาติไทย เพียงแค่เกมเดียวเท่านั้น ส่วนการพบเอสโตเนีย และ ฟินแลนด์ เป็นหน้าที่ของแซมบ้าน้อยยู-17 ชาญวิทย์ ผลชีวิน คิงส์ คัพ ครั้งที่37 พ.ศ.2549 (2006), ครั้งที่38 พ.ศ.2550 (2007) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ ข้าราชการครูกรมพละศึกษา ผู้เจียระไนแข้งโนเนมมากมายแวดวงลูกหนังไทย จนได้รับเกียรติยศโค้ชยอดเยี่ยมเอเชีย ปี 1994 เนื่องจากพา “ขุนพลร่วงขาว” ธนาคารกสิกรไทย ผงาดชูโทรฟี่แชมป์เอเชี่ยน คลับ “ป๋าหรั่ง” ชื่อที่นักเตะไทยมากมายมักเรียกหากัน ถูก ดร.วิจิตร เกตุแก้ว อดีตนายกลูกหนังแดนสยามในเวลานั้น ขอร้องให้ทำทีมชาติชุดใหญ่ครั้งแรก ไทม์ไลน์ดังกล่าวน่าจะเหมาะเหม็ง เพราะโมงนั้นบอลไทยซบเซาราวกับป่าช้า ชายชื่อ ชาญวิทย์ ไม่ทำให้ผู้บริหารลูกหนังไทย ผิดหวัง แข้งช้างศึกกลับมาเล่นฟุตบอลชนะใจคนดูรอบสนามศุภชลาศัย ในการแข่งขันคิงส์ คัพ ครั้งที่ 37 ปีพ.ศ.2549 (2006) ที่มีคู่แข่งอย่าง เวียดนาม, สิงคโปร์ และคาซัคสถาน ผู้เล่นอย่าง ดัสกร ทองเหลา, สุเชาว์ นุชนุ่ม, เจษฎา จิตสวัสดิ์, สุธี สุขสมกิจ, พิพัฒน์ ต้นกันยา กำลังอยู่ในช่วงพีคที่สุดยามรับใช้ชาติ ช่วยกันนำพาไทยกลับมาครองแชมป์ได้เป็นแรก ในรอบ 6 ปี ถัดจากนั้น 1 ปีต่อมา “อ.หรั่ง” นำทีมรักษาถ้วยพระราชทานอันศักดิ์สิทธิ์ ไว้ได้อีก 1 สมัย เมื่อโชว์เยี่ยมตั้งแต่นัดแรกจนถึงนัดสุดท้ายของทัวร์นาเมนต์ เริ่มตั้งแต่ อัดอุซเบกิสถาน, เชือดอิรัก ชุดบี, ลุ้นเหนื่อยชนะเกาหลีเหนือท้ายเกม ตามด้วยการดับซ่าขุนพลเมโสโปเตเมีย ในรอบชิงดำ อีกครา เรียกได้ว่า ชาญวิทย์ ผลชีวิน สร้างทีมช้างศึก ซิวแชมป์คิงส์ คัพ 2 สมัย ได้แบบชนะใจแฟนบอลรอบสนามอีก 1 ราย เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง คิงส์ คัพ ครั้งที่44 พ.ศ.2559 (2016) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ “ดาวยิงตีลังกา” หมายเลข 13 แข้งผู้โด่งดังจากเจเนเรชั่นยุคดรีมทีม เขาคือยอดแข้งที่ก้าวสู่ตำนานทีมชาติไทย ซิโก้ กวาดแชมป์มากมายในย่านอาเซียน รวมถึงถ้วยพระราชทานคิงส์ คัพ ที่มีชื่อคว้าแชมป์ได้ถึง 3 สมัย1994, 2000, 2006 เมื่อปรับเปลี่ยนบทบาทจากนักเตะมาสู่ผู้บัญชาเกมข้างสนาม ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป คิงส์ คัพ ครั้งที่ 43 หนแรกในฐานะกุนซือ เกิดขึ้นในปี 2015 ณ จังหวัดนครราชสีมา ทัพช้างศึกของซิโก้ เล่นบอลสวยงามชนะใจคนดูทั่วสารทิศ แต่ชวดแชมป์ คิงส์ คัพ ครั้งที่ 44 นับเป็นปีฉลองครบรอบ 100 ปีสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ เปรียบเสมือนการรวมใจระหว่างนักเตะและสต๊าฟฟ์โค้ช ที่มุ่งหวังนำโทรฟี่คิงส์ คัพ มาครองให้ได้ หลังร้างราไปนานร่วม 9 ปี สุดท้ายซิโก้ นำขุนพลตราพระมหามงกุฎ ครองถ้วยอันทรงเกียรติ ปราบจอร์แดน ในชิงฯ 2-0 สร้างปฐมบทใหม่คิงส์ คัพ ในฐานะที่ได้แชมป์รายการนี้ ในฐานะโค้ชและนักเตะ ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน มิโลวาน ราเยวัช คิงส์ คัพ ครั้งที่45 พ.ศ.2560 (2017) 10 ทำเนียบจอมวางหมากแชมป์คิงส์ คัพ โค้ชจากเซอร์เบีย ถูกเลือกให้ขับเคลื่อนขุนพลช้างศึก กลางปี 2017 หลังกุนซือขวัญใจมหาชนไขก๊อกอำลาทีม ท่ามกลางคำถามมากมายสาดตรงมายังบุรุษมากดีกรี แน่จริงหรือเปล่าที่จะมากุมบังเหียนแทนคนเก่า แต่เมื่อถึงเวลาจริง “น้าวัช” พิสูจน์ให้เห็นเต็ม 2 ตา “ข้าคือของจริง” ชายสูงวัยชาวเซิร์บ ปรับยุทธวิธีการเล่นแข้งไตรรงค์ ตั้งแต่ในสนามซ้อม เข้มงวดทุกฝีก้าว แท็คติกรับแล้วโต้ คือศาสตร์แบบใหม่ที่ถูกถอดทอดส่งตรงสู่แข้งไทย คิงส์ คัพ ปีกลายที่ผ่านมา คือเวทีลับฝีมือ ราเยวัช ในฐานะแม่ทัพช้างศึก ผลงานรอบแรกทีมเชิงเกาหลีเหนือไปเบาะ 3-0 จากนั้นกรุยทางสู่รอบชิงฯ ดวลจุดโทษชนะเบลารุส 5-4 หลัง90 นาที เสมอ0-0 เถลิงบัลลังค์แชมป์เป็นสมัย 15 มากสุดในประวัติศาสตร์ลูกหนังรายการนี้  

เอ็มเร่

ขอบคุณภาพ : สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย, นิตยสารฟุตบอลสยาม, แฟนเพจ ฟุตบอลไทยในอดีต by tommy bar, แฟนเพจ สารานุกรมฟุตบอลไทย
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของ ขอบสนาม
logoline