logo-heading
รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา ความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างอคาเดมี อันประกอบด้วย ภูริ อคาเดมี (ราชบุรี), นครปฐม ยูไนเต็ด (นครปฐม), ต้นกล้า อคาเดมี (อยุธยา), ทีสตรองเกอร์ (ปทุมธานี) และทีเคบี อคาเดมี (กรุงเทพฯ) ที่รวมตัวกันจัดทำฟุตบอลภายใต้ชื่อทัวร์นาเมนต์ “แกรนด์สปอร์ตจูเนียร์ฟุตบอล อคาเดมี ลีก 2019 -2020” ศึกดวลแข้งจะเกิดขึ้นเดือนละครั้งแบ่งเป็นทีมฟุตบอลในรุ่นอายุ 10 ปี 11-12 ปี รุ่น 13-14 ปี และวีไอพีชายหญิงที่มาจากผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นสมาชิกของอคาเดมี อาจกล่าวได้ว่านี่คือการตกผลึกในแนวทางพัฒนาฟุตบอลที่มาจากอคาเดมีทั้ง 5 แห่ง ที่เห็นไปในแนวทางเดียวกันในการพัฒนาฟุตบอลระดับเยาวชนด้วยการจัดทำทัวร์นาเมนต์การแข่งขันขึ้นมาที่มุ่งเน้นในการให้โอกาสเยาวชน ได้พัฒนาตัวเองผ่านการแข่งขันที่จัดขึ้น ถือเป็นความแตกต่างกับระบบการแข่งขันในขณะนี้ซึ่งเกิดระบบของการแข่งขันในแบบ “ฟุตบอลเดินสาย” ที่คาบเกี่ยวไปยังฟุตบอลระดับเยาวชนผ่านอคาเดมีในที่สุด ทั้งนี้ ฟุตบอลเดินสาย คือนิยามของฟุตบอลในระดับประชาชนที่เกิดการรวมทีมออกไปแข่งขันทั้งเพื่อหารายได้จากเงินรางวัล รางวัลชนะเลิศ เพื่อสร้างโปรไฟล์ทั้งต่อทีมและต่อผู้เล่น แต่ด้วยการเติบโตของอคาเดมีพัฒนาฟุตบอลระดับเยาวชน รวมไปถึงการขยายตัวของสนามฟุตบอลแบบหญ้าเทียมทำให้ฟุตบอลเดินสายในระดับเยาวชนขยายตัวตามไปด้วยเป็นการเติบโต โดยอิงไปจากอคาเดมีที่มีแนวทางของตัวเองด้วยการให้เยาวชนที่สังกัดอคาเดมีนั้นๆ ได้มีประสบการณ์ผ่านรายการแข่งขันต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยสนามฟุตบอลหญ้าเทียมแต่ละแห่งที่ต้องการให้สนามมีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา ผ่านการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันทั้งในกรณีที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอง หรือในกรณีที่ร่วมมือกับพันธมิตรจัดการแข่งขันขึ้น   รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา นิธิชัย แช่มช้อย ผู้อำนวยการ ศูนย์ฝึกฟุตบอล ภูริ อคาเดมี จังหวัดราชบุรี   000 สร้างลีกเยาวชนให้เกิดความต่าง อย่างไรก็ตามในกรณีของ “แกรนด์สปอร์ตจูเนียร์ฟุตบอล อคาเดมี ลีก 2019-2020” ที่เป็นการหมุนเวียนแข่งขันกันสนามละครั้งต่อเดือนเป็นความต่างตรงที่อคาเดมีฟุตบลลทั้ง 5 แห่ง ให้น้ำหนักฟุตบอลรายการนี้ว่านี่คือเวทีเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาฝีเท้าของนักฟุตบอลแต่ละช่วงอายุ ดังนั้นผลการแข่งขัน ชนะหรือแพ้จึงไม่ได้มุ่งเน้นในประเด็นนี้ และทัวร์นาเมนต์แรกก็จัดไปแล้วในเดือนธันวาคม ที่สนามซอคเกอร์โซน อ.เมือง จ.ราชบุรี โดยมี “ภูริ อคาเดมี” เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน จากนั้นจะตระเวนไปยังสนามแข่งขันอีก 4 จังหวัด ด้วยโปรแกรมการแข่งขันเดือนละ 1 ครั้งในทุกรุ่นอายุ แข่งตั้งแต่เช้าไปจนถึงเย็นของวันเดียวกัน นิธิชัย แช่มช้อย (โค้ชรุต) ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกฟุตบอลภูริ อคาเดมี   จังหวัดราชบุรี ให้สัมภาษณ์ว่า  เป้าหมายของการผนึกความร่วมมือระหว่าง 5 อคาเดมี ด้วยการจัดทัวร์นาเมนต์การแข่งขันฟุตบอลในรายการ “แกรนด์สปอร์ตจูเนียร์ฟุตบอล อคาเดมี ลีก 2019-2020” คือความต้องการให้ฟุตบอลรายการนี้คือเวทีที่เปิดกว้างให้นักฟุตบอลเยาวชนในแต่ละช่วงอายุได้แสดงออกอันหมายถึงการได้สัมผัสประสบการณ์ของเกมการแข่งขันในอีกรูปแบบหนึ่ง คือการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนามากกว่าผลการแข่งขัน ดังนั้นฟุตบอลรายการนี้จึงเป็นความต่างในการแบ่งการแข่งขันในแต่ละคู่ออกเป็นหลายช่วงเพื่อให้นักฟุตบอลระดับเยาวชนของอคาเดมีนั้นๆ มีโอกาสสัมผัสเกมในสนาม 000 ถอดประสบการณ์จากส่งทีมเข้าร่วม 5 ลีก “ก่อนหน้าที่เราจะร่วมกันทำทัวร์นาเมนต์นี้ขึ้นมา สำหรับ ภูริ อคาเดมี ที่ผมดูแลอยู่ ก็ได้ประสบการณ์ในการส่งทีมฟุตบอลระดับเยาวชนเข้าแข่งขันรายการต่างๆ รวม 5 รายการ และประสบการณ์ที่ได้รับก็คือความแตกต่างในแต่ละรายการที่จัดขึ้น ทั้งสนามฟุตบอลหญ้าเทียม หรืออคาเดมีบางแห่งที่พัฒนาตัวเองไปเป็นผู้จัดการแข่งขันเสียเองและเมื่อมาทบทวนความเป็นจริงในรูปแบบการพัฒนาฟุตบอลระดับเยาวชนแล้วส่วนตัวผมมองว่ารายการแข่งขันที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ไม่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาวงการฟุตบอลเด็กขั้นพื้นฐาน จริงอยู่ที่อาจจะสนองความต้องการของแต่ละกลุ่ม แต่หากให้มองในแบบองค์รวม ผมว่าระบบฟุตบอลเยาวชนที่เติบโตอยู่ในขณะนี้ผ่านทัวร์นาเมนต์ที่จัดขึ้นเพื่อรองรับอคาเดมีที่เดินสายส่งทีมเข้าแข่งขัน คือการแข่งขันที่ทำให้ผู้เรียนขาดช่วงของการพัฒนา สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ แต่ละอคาเดมี ล้วนหวังผลการแข่งขันทั้งต่ออคาเดมี หรือโค้ชที่ทำหน้าที่ดูแลทีมเยาวชน นั่นคือต้องการเห็นความสำเร็จของทีมฟุตบอลที่ส่งเข้าแข่งขัน ดังนั้นผู้เล่นที่แต่ละอคาเดมีคัดไปย่อมหมายถึงผู้เล่นที่มีฝีเท้าที่แตกต่าง ในขณะที่เด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในอคาเดมีเดียวกัน กลับไม่ได้รับโอกาสให้ไปเล่น ซึ่งเรื่องนี้มองได้หลายแง่ ไม่มีใครผิดหรือถูก แต่ในมุมของอคาเดมีทั้ง 5 แห่งที่รวมตัวกันจัดทำรายการแข่งขันขึ้นมาคือการหาทางออกที่ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัสการแข่งขันอย่างแท้จริง ดังนั้นผลแพ้ชนะในเกมการแข่งขันจึงไม่มีน้ำหนักมากไปกว่าการที่เยาวชนของแต่ละอคาเดมีได้เล่นฟุตบอลอย่างมีความสุข สร้างบรรยากาศของฟุตบอลในแบบครอบครัวให้เกิดขึ้น” รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา 000 ฟุตบอลเดินสาย-ผลการแข่งขันคือแรงกดดัน ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกฟุตบอลภูริ อคาเดมี กล่าวว่า ฟุตบอลเยาวชนในวัยตั้งแต่ 5 ปีไปจนถึง 12 ปี คือช่วงของการเริ่มต้นพัฒนาและต้องใช้เวลาพอสมควรหากจะพัฒนาเยาวชนกลุ่มนี้ไปสู่การเป็นนักฟุตบอลที่มีคุณภาพ การนำเอาระบบการแข่งขันมารองรับ หรือนำเอาอคาเดมีเข้าสู่ระบบฟุตบอลเดินสาย คือการนำเอาเยาวชนไปสู่ระบบการแข่งขันที่เป็นเหมือนแรงกดดันโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะเห็นว่าฟุตบอลเยาวชนแบบเดินสายคือการมุ่งหวังผลการแข่งขัน ในขณะที่ผู้ปกครองเมื่อเห็นบุตรหลานไปทำหน้าที่ในสนามคือความภาคภูมิใจที่ได้เห็นถึงความสามารถ แต่ในมุมอีกด้านคือการเร่งรัดที่จะพัฒนาเด็กไปสู่การแข่งขันทั้งที่ในวัยนี้ฟุตบอลควรเป็นการเล่นกีฬาบนพื้นฐานแห่งความสุขเป็นที่ตั้ง   รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา     รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา   000 โค้ชสร้างเด็ก-เด็กสร้างโค้ช “เมื่ออยู่กับฟุตบอลเดินสายสิ่งที่เราเห็นได้ก็คือ “เด็กสร้างโค้ช” เพราะความสำเร็จของผลงานในสนามหมายถึงการสร้างชื่อให้โค้ชประจำอคาเดมีนั้นๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้วในตัวของระบบควรจะอยู่บนแนวทาง "โค้ชสร้างเด็ก” ผมไม่ได้หวังว่า สิ่งที่เราทำจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในวงการฟุตบอลเด็ก เพียงแต่สิ่งที่ทำนั้นอยากให้มองว่าถึงที่สุดแล้วเด็กคือผ้าขาวที่ต้องการให้ผู้ใหญ่วางแนวทาง ทุกคนที่เล่นฟุตบอลในวัยเด็ก ณ วันนี้ เขาอาจจะไม่ได้อยากเป็นนักฟุตบอล บางคนอาจจะโตไปทำงานประจำ รับราชการ ฟุตบอลในวัยเด็กคือส่วนหนึ่งของกิจกรรมในชีวิตที่ทำให้เด็กมีสังคม รู้จักกติกา การอยู่ร่วมกัน นี่คือสิ่งที่อยากสะท้อนให้ผู้ปกครองได้ทบทวนเรื่องนี้ เด็กในวัย 5-7 ขวบ ไม่ควรไปวิ่งอยู่ในสนามแบบเอาเป็น เอาตายเพื่อทำผลงาน ไม่ควรตรากตรำขนาดนั้น ตอนนี้กลายเป็นว่าอคาเดมีที่อยากมีชื่อเสียงก็ต้องเร่งทำผลงาน พาเด็กออกไปเดินสายแข่งขันรายการต่างๆ จริงอยู่ที่เด็กอาจจะสนุก ผู้ปกครองอาจจะพึงพอใจที่ได้เห็นบุตรหลาน แต่ในมุมของผมทั้งในฐานะที่ผ่านประสบการณ์กับฟุตบอลอาชีพจนมาถึงการก่อตั้งศูนย์ฝึกฟุตบอลภูริ อคาเดมี แนวทางของผมที่เลือกใช้คือการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาเยาวชนในแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการรวบรัด โดยนำเอารูปแบบการแข่งขันมาเป็นเครื่องมือ หรือการส่งทีมเข้าแข่งขันแบบเดินสาย” ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกฟุตบอลภูริ อคาเดมี ระบุ รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา ชยพล ศรีสุพพัตพงษ์ ผู้ปกครอง ด.ช.ณัชพล ศรีสุพพัตพงษ์ สมาชิกในสังกัดภูริ อคาเดมี กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่ได้เห็นระบบการแข่งขันฟุตบอลเดินสาย ก็คือการแข่งขันฟุตบอล 7 คน ทีมส่งผู้เล่น 13 คน แน่นอนว่าจำนวนผู้เล่นที่ได้เป็นตัวจริงกับตัวสำรองจะมีสัดส่วนต่างกัน เพราะแต่ละอคาเดมีย่อมเน้นผลการแข่งขันในเกมนั้นๆ ดังนั้นหากต้องการพัฒนาเยาวชนต้องกระจายโอกาสให้ทุกคนได้ไปสัมผัสเกม และนี่คือมุมที่อยากเห็น ส่วนตัวเห็นว่าเด็กในวัยนี้ควรเน้นไปที่การได้รับการฝึกสอนด้านทักษะมากกว่าการนำระบบการแข่งขันมาเป็นเกณฑ์การพัฒนาหรือว่าชี้วัดความสำเร็จ และที่อคาเดมีทั้ง 5 แห่งร่วมกันจัดทำขึ้นคือ “แกรนด์สปอร์ตจูเนียร์ฟุตบอล อคาเดมี ลีก 2019-2020” ก็คือแนวทางที่ต้องการการสร้างกรอบความคิดที่ถูกต้องให้เยาวชน เพราะในการแข่งขันโค้ชหรือผู้ควบคุมทีมก็จะเป็นผู้ที่ให้ความรู้ ทำให้เด็กคิดตามและเกิดการพัฒนาได้“ผมไม่ได้แอนตี้ฟุตบอลเดินสาย หรือการส่งทีมเข้าแข่งขันเพื่อทำผลงานของแต่ละอคาเดมี ทุกคนทุกฝ่ายต่างมีแนวคิดเป็นของตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะมองในมุมไหน” ชยพล กล่าว ความร่วมมือระหว่างศูนย์ฝึกฟุตบอลทั้ง 5 แห่ง ภายใต้การนำของภูริ อคาเดมี จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะทำให้วงการฟุตบอลระดับเยาวชน หันมาทบทวนสภาพความเป็นไปที่เกิดขึ้น เมื่อนิยามของคำว่า “ฟุตบอลเดินสาย” ขยายมายังฟุตบอลเยาวชน     รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา   รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา     รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา   รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา     อีกมุมหนึ่งของ “ฟุตบอลเดินสาย” ธงชัย จันทรา โค้ชฟุตบอลจิตอาสา อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งมีประสบการณ์ในฟุตบอลระดับเยาวชน ให้ทัศนะว่า ระบบฟุตบอลเดินสายถึงที่สุดแล้วคงไม่สามารถหยุดการเติบโต เพราะเป็นความลงตัว ระหว่างโครงสร้างฟุตบอลเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจัดการแข่งขัน อคาเดมี เจ้าของสนามฟุตบอลหญ้าเทียม สิ่งที่อยากสะท้อนมุมอีกด้านก็คือ มุมบวกที่ได้จากฟุตบอลเดินสาย หรือการที่อคาเดมี ส่งทีมเข้าแข่งขันก็คือการเป็นสะพานผลิตเยาวชนป้อนให้สถานศึกษาที่ต้องการความเป็นเลิศทางกีฬาฟุตบอล จะเห็นว่าในการคัคเยาวชนเข้าสถานศึกษา เยาวชนที่ผ่านอคาเดมี ผ่านประสบการณ์ที่ลงแข่งขันอย่างต่อเนื่อง จะมีความได้เปรียบเมื่อเข้าสู่ระบบการคัดตัวเพื่อเป็นนักเรียนของสถานศึกษานั้นๆ “แน่นอนในมุมผมเองก็ไม่เห็นด้วยกับระบบฟุตบอลเดินสาย หรือการเร่งสร้างผลงานของแต่ละอคาเดมี โดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือเพื่อความสำเร็จ แต่เมื่อทุกอย่างถูกวางแนวทางเอาไว้ ระบบฟุตบอลเด็กถูกออกแบบเช่นนี้ โดยมีปลายทางไปอยู่ที่การได้เข้าเรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียง หรือเข้าไปอยู่กับอคาเดมี สโมสรฟุตบอลอาชีพ นี่คือสิ่งที่ต้องมองไปอีกด้านเช่นกัน” ธงชัย กล่าว   รายงานพิเศษ : 5อคาเดมีผนึกจัดลีกเยาวชน  มุมมองฟุตบอลเด็กเพื่อการพัฒนา ธงชัย จันทรา โค้ชฟุตบอลจิตอาสา อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ( ซ้าย )  
logoline