logo-heading

ว่ากันว่าความฝันไม่มีวันจบสิ้นต่อให้อายุเราเท่าไหร่ก็ตาม หากเราลงมือทำมันอย่างมุ่งมั่นจริงจัง มันย่อมเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ธีรศิลป์ แดงดา หอบหิ้วโอกาสหนสุดท้ายไปค้าแข้งในญี่ปุ่น กับชิมิสุ เอส พัลส์

ทีมใหม่ในเจลีก ที่ไม่ใช่ซานเฟรซเซ่ ฮิโรชิม่า ทีมที่ไม่ได้เงินถุงเงินถุงในลีกญี่ปุ่น ทีมเล็กๆกลางตาราง เราน่าจะได้เห็น มุ้ยซัง ได้ช่วยฝีเท้าได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทว่าหลังเปิดตัวไฉไลในเกมแรกยิงประตูในทีมใหม่ได้ หลังจากนั้นหัวหอกทีมชาติไทยก็ไม่มีบทบาทมากหนัก 8 เกมแรกในเจลีก สถิติมั้ยมีโอกาสจบสกอร์เพียงแค่ 4 ครั้งเท่านั้น และมันแปรเปลี่ยนเป็น 1 ประตูเท่านี้ก็จะบอกได้แล้วว่า เขากำลังพบขวบปีในการต่อสู้ที่ยากกว่าเมื่อ 2 ปีก่อน สมัยที่เป็นแข้งฮิโรชิม่า ขอบสนามพาไปหาสาเหตุถึงอุปสรรคที่เขาต้องพบเจอในตลอดการต่อสู้ 8 เกมแรก 1.กองหน้ายิงประตูไม่ได้ก็ต้องสำรอง 8 เกมแรกในเจลีก ธีรศิลป์ แดงดา ได้โอกาสลงเล่นเป็นตัวจริง 4 เกม และสำรอง 4 เกม เท่ากับว่า เขาถูก ปีเตอร์ ชคลามอฟสกี้ ส่งลงเล่นถือว่าเยอะ แม้ว่าเกมแรกจะเปิดตัวได้สวยงามยิงประตูใส่เอฟซี โตเกียวได้ ก่อนจะปราชัยในภายหลัง ทว่าตำแหน่งกองหน้ามันไม่มีอะไรแน่นอน ถ้ายิงได้ เกมถัดไปก็ได้รับความไว้วางใจ แต่ถ้าลงแล้วยิงไม่ได้ก็ต้องโดนดร็อปไปนั่งเป็นสำรอง เพื่อรอโอกาส แม้ ธีรศิลป์ จะมีความกระหายในการซ้อมมากแค่ไหน แต่เมื่อโค้ชให้โอกาสแล้วจบสกอร์ในสนามจริงไม่ได้ ก็ต้องนั่งสำรอง 2.ความกดดัน อย่าลืมว่าตำแหน่งกองหน้าหน้าที่คือการยิงประตู แต่ถ้าทำไม่ได้นอกจากต้องรับสภาพไปนั่งสำรองแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความกดดัน ซึ่งหลีกหนีไม่พ้นในการเป็นนักบอล เพียงแต่จุดนี้ ธีรศิลป์ ก็เคยเจอมาแล้ว สมัยที่ค้าแข้งให้กับซานเฟรซเซ่ ฮิโรชิม่า เพียงแต่ความคาดหวังของผู้บริหารชิมิสุ และตัวโค้ชพวกเขาก็อยากเห็นผลงานของแข้งชาวไทยที่ดีกว่านี้ เพื่อสมกับที่สโมสรควักเงินเพื่อซื้อตัวมาร่วมทีม 3.คู่แข่งคือกองหน้าบราซิเลี่ยน ตอนที่เล่นให้ซานเฟรซเซ่ ฮิโรชิม่า คู่แข่งของเขาคือ แพทริค กองหน้าจอมเก๋า บางครั้งก็ต้องรับสภาพไปนั่งสำรอง หรือถ้าเล่นคู่กันก็คือกองหน้าตัวต่ำ ซึ่งเขาไปได้สวยเขากับระบบทีมดังแห่งเมืองฮิโรชิม่าได้ เพียงแต่กองหน้าคนสำคัญที่เขาต้องสลับสับเปลี่ยนในการลงเล่นในฐานะตัวเป้าคือคาร์ลิญยอส จูเนียร์ ที่อายุน้อยสดกว่าค่าจ้างสูงกว่า แม้หลายๆนัดจะเล่นร่วมกันแต่ดูไม่ควรเวิร์คเลย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทั้งคู่ซ้อมกันน้อยมากในช่วงปรีซีซั่น เพราะมาร่วมทีมทีหลัง 4.แท็คติกโค้ชไม่เอื้ออำนวยให้เลย ปีนี้ชิมิสุ เอส พัลส์ ใช้บริการ ปีเตอร์ ชคลามอฟสกี้ โค้ชชาวออสซี่ ซึ่งเป็นอดีตผู้ช่วย อังเก้ ปอสเตโคกลู ในทีมโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส เขามีประสบการณ์โค้ชจริงๆก็ตอนทำทีมออสเตรเลีย ชุด 17 ปีในช่วงสั้นๆ แต่งานอื่นๆคือผู้ช่วยมาตลอด เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่ต่างจากโค้ชมือใหม่ มันจึงต้องลองผิดลองถูกเป็นเรื่องธรรมดา ชคลามอฟสกี้ เป็นโค้ชบ้าบอลเกมบุกตามอังเก้ แต่หละหลวมในเรื่องการป้องกันเกมรับ ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า กลยุทธ์ของชิมิสุ จึงโดนไร้ทีเด็ดทีขาด
logoline