logo-heading

เช็กกติกาใหม่ของฟีฟ่า ทั้งหมด 12 ข้อ ซึ่งฟุตบอลไทยลีก เตรียมจะนำมาใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ส.ค.นี้ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

กติกาใหม่ฟี่ฟา ที่จะใช้ในไทยลีก เริ่ม 20 ส.ค.นี้ 1.การเปลี่ยนตัว - การเปลี่ยนตัวออกจากสนาม ผู้เล่นต้องออกจากสนาม ด้วยการเดินออกจากสนาม ในฝั่งที่ใกล้ที่สุด ไม่จำเป็นต้องเดินมาเปลี่ยนตัว ณ เส้นกึ่งกลางสนาม บริเวณจุดยืนของผู้ตัดสินที่ 4 หากผู้เล่นปฏิเสธจะออกจากสนาม ให้ดำเนินการแข่งขันต่อไปทันที 2.เสื้อซับใน - ผู้เล่นที่ใส่เสื้อด้านใน ต้องใส่เสื้อสีเดียว กับเสื้อเเข่งขันเท่านั้น 3.การตัดสิน - ผู้ตัดสินไม่สามารถเปลี่ยนคำตัดสินได้ ในกรณีที่การแข่งขัน กลับมาแข่งขันต่อ หลังมีการตัดสินไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ตัดสินสามารถเปลี่ยนคำตัดสินได้ หากเกมยังไม่กลับมาดำเนินต่อ หรือหากผู้ตัดสินได้ใช้เทคโนโลยี รีวิวเหตุการณ์การแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนคำตัดสินได้ - หากมีการเล่นนอกเกม จนเป็นเหตุให้ต้องแจกใบเหลืองหรือใบแดง แต่ผู้ตัดสินที่ 1 ไม่เห็นเหตุการณ์ สามารถเป่าหยุดเกมในภายหลัง เพื่อย้อนมาให้โทษแก่ผู้เล่นได้ - หากมีการแสดงพฤติกรรมไม่เคารพต่อผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินสามารถกล่าวตักเตือน, ให้ใบเหลือง และใบแดง ได้ในทันที รวมไปถึงผู้เล่นและทีมงานสตาฟฟ์โค้ช ในบริเวณเขตเทคนิคทุกคน ในกรณีที่ไม่สามารถระบุตัวตน ผู้กระทำผิดได้ว่าเป็นใคร หัวหน้าผู้ฝึกสอน ในเขตเทคนิค จะต้องรับโทษแทน - หากผู้เล่นถูกทำฟาวล์ ในเขตโทษ และต้องการเป็นผู้ยิงจุดโทษ ด้วยตัวเอง แต่ได้รับบาดเจ็บ จนต้องรับการปฐมพยาบาล สามารถปฐมพยาบาลได้ในสนาม โดยไม่ต้องออกนอกสนามแต่อย่างใด ส่วนเกมการแข่งขันจะกลับมาดำเนินต่ออีกครั้ง เมื่อการปฐมพยาบาลเสร็จสิ้น เพื่อสร้างความเป็นธรรม ให้กับผู้เล่นที่ถูกทำฟาวล์ 4.การพัก Cooling Breaks - กำหนดเวลาพักที่ชัดเจน ระหว่าง “Drinks Breaks” และ “Cooling Breaks” โดย drinks breaks มีเวลาพักไม่เกิน 1 นาที ส่วน cooling breaks มีเวลาพัก 90 วินาที - 3 นาที 5.การเริ่มการแข่งขัน และการเริ่มเล่นใหม่ - ทีมที่ชนะการเสี่ยงทายเหรียญก่อนเริ่มเกม สามารถเลือกได้ว่า จะเลือกเป็นฝ่ายเขี่ยลูกก่อน หรือเป็นฝ่ายเลือกแดน - ผู้เล่นสามารถสัมผัสบอลได้เพียงครั้งเดียวในการเขี่ยบอล หากเขี่ยบอลพลาด และต้องเตะบอลซ้ำ จะเสียฟรีคิก ให้ฝ่ายตรงข้าม - หากมีการดร็อปบอล ในกรอบเขตโทษ ผู้รักษาประตูต้องเป็นคนเตะบอลเริ่มเกมอีกครั้งเท่านั้น สำหรับการดร็อปบอลนอกกรอบเขตโทษ ทีมของผู้เล่น ที่สัมผัสคนสุดท้าย จะได้เตะลูกเริ่มเกมต่อ โดยทีมฝ่ายตรงข้าม ต้องอยู่ห่างออกไป 4 เมตร หรือ 4.5 หลา 6.บอลโดนผู้ตัดสิน - หากลูกฟุตบอลสัมผัสโดนตัวผู้ตัดสิน และบอลอยู่ในสนาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเล่นของทีมบุก, บอลเปลี่ยนทางเข้าประตู หรือทีมสูญเสียการครองบอล ให้ถือว่าบอลนั้น เป็นบอลตาย และเริ่มเกมใหม่อีกครั้ง ด้วยการดร็อปบอล หากบอลสัมผัสโดนตัวผู้ตัดสิน แล้วไปชนเสา, ชนคาน หรือธงเตะมุม ให้ถือว่าเกมยังดำเนินต่อไป 7.ผู้รักษาประตุขว้างบอลเข้า - ถ้าผู้รักษาประตูขว้างบอล เข้าสู่ประตูของฝ่ายตรงข้ามโดยตรง ไม่ถือว่าเป็นประตู และให้เริ่มเกมใหม่ ด้วยการเตะลูกตั้งเตะแทน 8.การเล่นที่ผิดกติกา - หากมือหรือแขนของผู้เล่นฝ่ายรุก โดนบอลในกรอบเขตโทษ ให้ถือว่าเป็นแฮนด์บอลทุกกรณี โดยไม่พิจารณาว่าเจตนาหรือไม่ หากบอลที่โดนมือหรือแขนเข้าประตู หรือนำไปสู่การได้ประตู ให้ถือว่าไม่เป็นประตู - หากผู้รักษาประตูใช้มือครอบครองลูกบอล โดยไม่ได้รับอนุญาต ในกรอบเขตโทษของตัวเอง เช่น ใช้มือรับบอล เมื่อเพื่อนร่วมทีมส่งคืนหลัง, เพื่อนร่วมทีมทุ่มบอลคืนให้ หรือปล่อยบอลสู่พื้น แล้วจับลูกบอลอีกครั้งหนึ่ง จะเสียฟรีคิกให้ฝ่ายตรงข้าม แต่ไม่ถูกคาดโทษจากผู้ตัดสิน - ในกรณีที่เพื่อนร่วมทีมทุ่มบอลคืนให้ หรือเพื่อนร่วมทีมส่งบอลคืนหลังให้ผู้รักษาประตู และผู้รักษาประตูใช้มือหรือแขนเล่นบอล ทั้งที่สามารถใช้เท้าเล่นบอลได้ จะเสียฟรีคิกให้ทีมฝ่ายตรงข้าม - หากผู้เล่นหรือทีมสตาฟฟ์ ถูกไล่ออกก่อนการแข่งขันเริ่มต้น ผู้ตัดสินมีสิทธิ์ห้ามไม่ให้ผู้เล่นหรือทีมสตาฟฟ์ มีส่วนกับเกมการแข่งขัน - หากผู้ตัดสิน ตัดสินใจแจกใบเหลืองหรือใบแดง การแข่งขันจะไม่สามารถกลับมาเริ่มได้อีกครั้งจนกว่า ผู้ตัดสินจะทำการจดชื่อเสร็จ ยกเว้นในกรณีที่ทีมบุก มีโอกาสทำประตูแบบชัดเจน และผู้ตัดสินยังไม่เริ่มดำเนินการลงโทษ สามารถเล่นต่อได้ทันที ส่วนผู้ตัดสินสามารถย้อนมาลงโทษหลังเกมหยุดได้ หากทีมบุกปฏิเสธที่จะเล่นต่อ ผู้ตัดสินต้องคาดโทษผู้เล่นในทันที - หากผู้เล่นส่งบอลเข้าประตู และแสดงออกท่าดีใจที่อันตราย หรือสร้างภาพลักษณ์เชิงลบให้กับเกมฟุตบอล ผู้ตัดสินสามารถคาดโทษได้ทันที ไม่ว่าลูกบอลที่เข้าประตู จะถูกตัดสินให้เป็นประตูหรือไม่ก็ตาม - หากผู้เล่นทำแฮนด์บอล เพื่อปกป้องการเสียประตู หรือจังหวะชัดเจน ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียประตู ผู้เล่นคนนั้นต้องถูกไล่ออกสถานเดียว - ผู้เล่นหรือทีมงาน สามารถถูกกล่าวตักเตือน หากปฏิบัติพฤติกรรมดังต่อไปนี้: แสดงพฤติกรรมที่ไม่มีความเคารพ หรือมารยาทในสนามแข่ง, ไม่เชื่อฟังคำกล่าวของทีมงานผู้ตัดสิน, แสดงอาการไม่เห็นด้วยกับการตัดสิน ของผู้ตัดสิน, ออกจากเขตเทคนิค โดยไม่ได้รับอนุญาติ - ผู้เล่นหรือทีมงาน สามารถถูกคาดโทษ (แจกใบเหลือง) หากปฏิบัติพฤติกรรมดังต่อไปนี้: แสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงการไม่เคารพผู้ตัดสิน อย่างชัดเจนในพื้นที่เขตเทคนิค, ตั้งใจถ่วงเวลาการแข่งขัน, เข้าในเขตเทคนิคของทีมคู่แข่ง, โยนหรือเตะขวดน้ำ, ทำพฤติกรรมล้อเลียนผู้ตัดสิน เช่น การปรบมือ, เข้าไปในเขตรีวิวของผู้ตัดสิน, กดดันให้ผู้ตัดสินแจกใบเหลืองหรือใบแดง, กดดันให้ผู้ตัดสินดู VAR, แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เคารพต่อเกมการแข่งขัน - ผู้เล่นหรือทีมงาน สามารถถูกไล่ออก (แจกใบแดง) หากปฏิบัติพฤติกรรมดังต่อไปนี้: ตั้งใจถ่วงเวลา ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามทำเกมบุก ด้วยวิธีการเตะบอลทิ้ง หรือไม่คืนลูกบอล, เดินออกจากเขตเทคนิค เพื่อแสดงพฤติกรรมไม่มีมารยาท หรือต่อว่าทีมงานผู้ตัดสิน, เข้าในเขตเทคนิคของฝ่ายตรงข้าม เพื่อท้าทาย หรือแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว, เขวี้ยงหรือเตะสิ่งของลงสนาม, เดินลงสนามเพื่อท้าทายผู้ตัดสิน, เดินลงสนามเพื่อขัดขวางการเล่น, แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่นการกัด หรือการถ่มน้ำลาย ใส่ผู้เกี่ยวข้องในเกมการแข่งขัน, ได้รับใบเหลืองใบที่ 2, แสดงพฤติกรรมที่รุนแรงเกินความจำเป็น ในการเข้าปะทะ - หากผู้เล่นตั้งใจเตะ หรือเขวี้ยงสิ่งของใดก็ตาม ใส่ผู้เล่นหรือทีมงานของฝ่ายตรงข้าม ต้องเสียฟรีคิกให้ทีมฝ่ายตรงข้าม 9.การเตะโทษ (การยิงฟรีคิก) - ฟรีคิกสองจังหวะ ไม่สามารถเป็นประตูได้โดยตรง ต้องมีการสัมผัสตัวของผู้เล่นคนอื่น ถึงจะนับว่าเป็นประคู - หากผู้เล่นเดินออกสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาต จะเสียฟรีคิกให้กับฝ่ายตรงข้าม - การเตะฟรีคิกของผู้เล่นในกรอบเขตโทษของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเตะให้ออกจากกรอบเขตโทษอีกต่อไป - หากมีการตั้งกำแพงป้องกันลูกฟรีคิก อย่างน้อย 3 คน ผู้เล่นทีมรุกต้องอยู่ห่างจากกำแพงอย่างน้อย 1 เมตร (1 หลา) ห้ามยืนคั่นอยู่ในกำแพง หากไม่ปฏิบัติตาม จะเสียฟรีคิกสองจังหวะ ณ จุดตั้งของกำแพง - หากผู้เล่นทีมรุกสัมผัสบอล ขณะที่ผู้เล่นทีมรับกำลังจะเตะฟรีคิก ในกรอบเขตโทษของตัวเอง ให้เริ่มเตะฟรีคิกลูกนั้นใหม่อีกครั้ง 10.การเตะโทษ ณ จุดโทษ - เมื่อมีการยิงจุดโทษ ขาอย่างน้อยหนึ่งข้างของผู้รักษาประตู ต้องยืนอยู่บนเส้นปากประตู - หากผู้ตัดสินเป่าให้สัญญาณยิงลูกจุดโทษ ผู้เล่นต้องยิงจุดโทษในทันที หากไม่ปฏิบัติตาม ผู้ตัดสินสามารถลงโทษได้ - หากผู้ยิงจุดโทษ สัมผัสลูกฟุตบอลติดต่อกัน ก่อนที่ลูกบอลจะสัมผัสผู้เล่นคนอื่น จะเสียฟรีคิกให้ฝ่ายตรงข้าม 11.การทุ่ม - นักฟุตบอลทั้งสองฝ่าย ต้องยืนห่างจากเส้นขอบสนาม เป็นระยะทาง 2 เมตร (2 หลา) ในขณะที่มีการทุ่ม 12.การเตะจากประตู - หากการเตะจากประตู ลูกบอลมีการขยับ เคลื่อนไหว ที่ชัดเจน ให้ถือว่าเกมเริ่มในทันที โดยที่บอลไม่จำเป็นต้องออกจากรอบเขตโทษ อีกต่อไป - หากมีการเตะจากประตู แล้วผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยังอยู่ในกรอบเขตโทษ เพราะไม่มีเวลาให้ออกจากกรอบเขตโทษ ให้เริ่มดำเนินเกมต่อได้ทันที หากผู้เล่นคนนั้น ขัดขวางการเล่นของผู้รักษาประตู ให้ผู้รักษาประตูเล่นลูกตั้งเตะจากประตูใหม่อีกครั้ง ขอบคุณข้อมูลจากเว็ปสมาคมกีฬาฟุตบอล https://fathailand.org/news/4161
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของ ขอบสนาม
logoline