logo-heading

ในห้วงเวลานี้ที่สถานการณ์โควิด 19 เล่นงานทุกสิ่งทุกอย่าง จนแทบไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆในวงการลูกหนังไทย หลายๆทีมประสบปัญหา ทั้งลดเงินเดือนนักเตะ บางคนโดนยกเลิกสัญญา กลายเป็นคนตกงาน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากทีมเล็กๆที่มีสปอนเซอร์น้อยนิดและไม่ได้ลืมตาอ้าปากได้มากหนัก และบางสโมสรอาจไม่สามารถกลับมาแข่งขันได้อีก 5 เดือน

ทำให้ข่าวสารวงการลูกหนังไทยซบเซาลงไปทันทีทันใด ผู้เขียนเห็นเรื่องราวมากมายในโลกโซเชียลที่เกี่ยวข้องกับการจัด 11 ผู้เล่นหรือทีมยอดเยี่ยมจากสื่อสำนักต่างๆเลยอยากตีความในอีกบริบทหนึ่ง ในอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน เรามีนักเตะทีมชาติไทยมากมายที่มาจากต่างจังหวัด บางคนไต่เต้ามาจากบอลภูธร ขึ้นมาเล่นล่าความฝันด้วยฟุตบอลในเมืองหลวง แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าหากจัดแข้งทีมชาติ จังหวัดใดบ้างสามารถจัด 11 ตัวจริงและมีทีมสำรอง หลังจากค้นคว้าไปได้สักพัก คำตอบที่ได้คือจังหวัดสงขลา ที่สร้างแข้งมากมายมาสู่ระดับทีมชาติไทย วันนี้ขอบสนามขอนำเสนอนักเตะจากวัวชนแดนใต้ ส่วนจะมีใครที่อยู่ในโผ เลื่อนเมาท์มาดูกันเลยดีกว่าครับ   ระบบ 3-5-2 ผู้รักษาประตู  : อัมรินทร์ เยาดํา เหล่าแข้งทีมชาติไทยที่มาจากจังหวัดสงขลา นายด่านที่มาจากโรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพ และได้มาเล่นฟุตบอลกับสโมสรสินธนา ก่อนจะโยกมาร่วมทีมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมกับบรรจุงานประจำหลังช่วยทีมคว้าแชมป์ไทยลีก 2008 จากนั้นก็ถูกลดบทบาทกลายเป็นประตูสำรองให้บุรีรัมย์, วัวชน ยูไนเต็ด, เมืองทอง ยูไนเต็ด, สุพรรณบุรี เอฟซี, แอร์ฟอร์ซ และเกษตรศาสตร์ เขาคือประตูมือชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ 2001 ที่มาเลเซีย พร้อมกับภาณุวัฒน์ ตั้งอานุรักษ์ ปัจจุบันทำหน้าที่โค้ชผู้รักษาประตูทีมชาติไทย กองหลัง สมพงษ์ วัฒนา กองหลังเจ้าของฉายาแรดหิน ที่โด่งดังมาจากฟุตบอลชายซีเกมส์ 1985 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ  นักเตะที่อ่านบอลตัดเกมได้ชาญฉลาดคนหนึ่งของวงการ จนได้ไปเล่นบอลกับสโมสรธนาคารกรุงเทพ และย้ายมาเล่นให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย พร้อมกับบรรจุงาน เมื่อเลิกเล่นกับผันตัวไปเป็นผู้ช่วยโค้ชทีมสิงห์เจ้าท่าร่วมกับ น้าติ๊ก สมชาย ยิ้มศิริ และออกมาทำทีมเองหลายสโมสรเช่นภูเก็ต เอฟซี, สงขลา เอฟซี, แอร์ฟอร์ซ โรบินสัน ศิริศักดิ์ ขะเดหรี เด็กสร้างลูกพี่ใหญ่ของนักบอลดรีมทีม นิ่งเยือกเย็นตัดเกมคู่แข่งก่อนจะมาถึงหน้าปากประตู แม้ว่าฝีเท้าจากเทียบกับนที ทองสุขแก้วไม่ได้ แต่สไตล์การเล่นคล้ายๆกัน เขาเป็นตัวหลักของทีมที่สร้างโดยชัชชัย พหลแพทย์ และ ธวัชชัย สัจจกุล น่าเสียดายที่ความปราชัยต่อญี่ปุ่นกลางสนามกีฬากลางสุพรรณบุรี 0-5 จะทำให้ชื่อของเขาหายไปจากทีมชาติ โดยนักเตะรายนี้เป็นลูกทีมของวิทยา เลาหกุล และอยู่ในทีมชุดแชมป์ไทยลีกสมัยแรก เมื่อ 24 ปีก่อน อดิศร พรหมรักษ์ กองหลังผู้น้อยของเมืองทอง ยูไนเต็ด ที่มาเล่นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยตั้งแต่อายุยังน้อย ก่อนจะผ่านการคัดตัวทีมชาติ 19 ปีในยุคของ”น้าฉ่วย” สมชาย ชวยบุญชุม จนได้มาเล่นให้อาร์มี่ ยูไนเต็ด ก่อนจะย้ายไปอยู่บีอีซี เทโรศาสน และก้าวขึ้นมาเป็นกองหลังตัวหลักทีมชาติไทยในยุคของเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, มิโลวาน ราเยวัช และ อากิระ นิชิโนะ โค้ชคนปัจจุบัน วิงแบ็กซ้าย สุเมธ อัครพงศ์ เหล่าแข้งทีมชาติไทยที่มาจากจังหวัดสงขลา กองหลังสารพัดประโยชน์จากอำเภอนาทวี ที่ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จังหวัดสงขลา “พี่เมธ” ของน้องๆในกกท. สมัยเป็นนักบอลเป็นตัวหลักทีมชาติด้วยรูปร่างที่ใหญ่แข็งแรง เบสิคการครอบครองบอลดี อ่านเกมตัดเกมฉลาด ทำให้เขาได้รับความไว้วางใจกับทีมชาติมาโดยตลอด ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงโค้ชไปแล้วกี่คนก็ตาม อันที่จริงเขาถนัดเท้าขวา แต่กลับเล่นแบ็กซ้ายหรือวิงแบ็คได้สบายจนกลายเป็นตำแหน่งหลักของเจ้าตัวไปแล้ว ปรารภ ทองตัน เหล่าแข้งทีมชาติไทยที่มาจากจังหวัดสงขลา แม้เวลานี้แข้งรายนี้จะจากโลกนี้ไปแบบไม่มีวันกลับ แต่คุณภาพฝีเท้าของเขาไม่เป็นสองรองใครแน่นอน ในช่วงยุคปลาย80 ต้นยุค 90 เขาแจ้งเกิดกับธนาคารกรุงเทพ พร้อมกับได้บรรจุงานประจำและถูกดึงตัวไปร่วมทีมกสิกรไทยในเวลาต่อมา และอยู่ในทีมชุดได้แชมป์สโมสรเอเชีย หลังจากอิ่มตัวกับฟุตบอลในเมืองหลวงตัดสินใจหันหลังกลับบ้านและใช้เวลาว่างสอนบอลเด็กๆฟรีในจังหวัด กองกลาง ธวัชชัย นคราวงศ์ ปีกความเร็วสูงพ่อบังเกิดเกล้าของ ธัชนนท์ นคราวงศ์ กองกลางนครราชสีมา มาสซ้า อันที่จริงเขาคือศูนย์หน้า แต่ด้วยตำแหน่งในเวลานั้นไม่มีใครเกินปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ทำให้เขาโดนปรับบทบาทมาเล่นปีกตัวริมเส้นแทน และแจ้งเกิดกับการทำทีมโดย อ.ประวิทย์ ไชยสาม ลงเล่นให้สโมสรตำรวจและติดยศรับราชการ ปัจจุบันมีชื่อเต็มว่า พ.ต.ท.ธวัชชัย นคราวงศ์ ปัจจุบันเป็นรองผู้กำกับสน.มะนังที่จังหวัดสตูล ธงชัย อัครพงษ์ เหล่าแข้งทีมชาติไทยที่มาจากจังหวัดสงขลา กองกลางจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ ก่อนจะโยกไปเรียนที่สวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งก็ได้มีโอกาสแข่งฟุตบอลนักเรียนในรายการต่าง ๆ หลากหลายรายการ อย่างเช่น  ฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี   และก้าวไปสู่ตัวแทนทีมชาติในชุดเยาวชนอายุต่ำกว่า 19 ปี จนมาสู่การเป็นนักเตะทีมชาติไทย ในชุดซีเกมส์ 1999 และ ที่ได้ร่วมเล่นกับ วรวุธ ศรีมะฆะ, ตะวัน ศรีปาน, ดุสิต เฉลิมแสน น่าเสียดายที่เขาเบียดแย่งตำแหน่งตัวจริงทีมชาติไม่ไหว วินิจ สุวรรณนัง อีก 1 ผลผลิตจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ ที่โชว์ฟอร์มเยี่ยมในบอลเยาวชนระดับภาคกับทีมสงขลา จนได้โอกาสเข้ามาสู่เมืองหลวงกับสโมสรธนาคารกรุงเทพ พร้อมกับทำงานประจำ แต่ด้วยความมั่นคงกว่าเขาจึงเลือกย้ายไปอยู่กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย พร้อมกับบรรจุงานกับองค์กรดังแห่งคลองเตย การมาเล่นที่สโมสรแห่งนี้ช่วยทำเขามีชื่อติดทีมชาติ ในช่วงยุค 80 เรียกได้ว่าเขาเป็น 1 ในตำนานแข้งสิงห์เจ้าท่าอีกคนเลยก็ว่าได้ กองหน้า พงศธร เทียบทอง เหล่าแข้งทีมชาติไทยที่มาจากจังหวัดสงขลา ก่อนที่เบอร์ 10 ทีมชาติไทยจะชื่อว่า ตะวัน ศรีปาน คนที่สวมยูนิฟอร์มนี่มาก่อน คือกองหน้าจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ ก่อนจะถูกดึงตัวไปติดทีมชาติ โดยสมชาติ ยิ้มศิริ และถูกดึงตัวไปร่วมให้สโมสรตำรวจ ในขณะที่เรียนอยู่ที่มศว เขาเป็นศูนย์หน้าที่จมูกไวคนหนึ่งของวงการ ด้วยฝีเท้าที่เก่งเกินจะเล่นบอลถ้วยพระราชทานก. ทำให้ได้รับการเซ็นสัญญาไปเล่นกับคอสโม ออยส์ หลังอิ่มตัวในญี่ปุ่น 2 ปี เขากลับมาค้าแข้งกับสโมสรองค์การโทรศัพท์ กับ”โค้ชก็อก” พงษ์พันธ์ วงษ์สุวรรณ และมีชื่อติดทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ 1993 ที่อินโดนีเซีย แต่ด้วยปัญหาเรื่องสภาพร่างกายที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ทำให้ชื่อของเขาค่อยๆหายไปจากสารบบทีมชาติ วรวุธ ศรีมะฆะ เหล่าแข้งทีมชาติไทยที่มาจากจังหวัดสงขลา ชื่อนี้ไม่มีแฟนบอลไทยคนไหนไม่รู้จัก อดีตกองกลางร่างโย่งของธนาคารกสิกรไทย ที่โดดปีเตอร์ วิธ และ”โค้ชก็อก” ตัดต่อดีเอ็นเอใหม่ ใช้ความสูงใหญ่ทางรายการให้เป็นประโยชน์จนกลายเป็นกองหน้าทีมชาติไทยในช่วงปลายยุค 90 เขาคือนักเตะที่ประสบความสำเร็จในวงการลูกหนังไทยยุคเก่าและยุคใหม่ ทั้งระดับสโมสรและทีมชาติกวาดแชมป์เกือบทุกรายการในประเทศและภูมิภาคอาเซียน  ปัจจุบันเขากำลังสร้างชื่อในฐานะกุนซือทำทีมช่วยศุลกากร ยูไนเต็ด ลงแข่งไทยลีก 2 ตัวสำรอง วิเชษฐ์ คงมาก สุริยา สิงห์มุ้ย อดุลย์ มะลิพันธ์ บุญพบ ประพฤติ ประนุพงษ์ ปิ่นสุวรรณ ฉัตรมงคล ทองคีรี สัมฤทธิ์ เสริมสุข เทเวศน์ จันทร์หอม วงศ์ชนะ วงศ์วาสนา ขอบคุณภาพประกอบ ฟุตบอลสยาม , แฟนเพจฟุตบอลไทยในอดีต Tommy bars
logoline