logo-heading

ยังคงเป็นเครื่องหมายคำถามที่รอวันได้รับคำตอบที่แจ่มแจ้งอยู่สำหรับผลงานของ มาร์คัส แรชฟอร์ด ว่าตกลงผลงานของลูกกรอกคะนองจากอคาเดมี่ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด รายนี้ คือของจริง หรือเป็นแค่เพียงดาวเด่นเพียงช่วงพริบตา

ย้อนกลับไปอย่างที่เรารูกันว่า แรชฟอร์ด คือเด็กที่เติบโตมาจากระบบเยาวชนของ แมนฯ ยูไนเต้ด ก่อนค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นมาจนกระทั่งได้รับโอกาสลงสนามกับทีมชุดใหญ่เมื่อช่วงฤดูกาล 2015-16 ในยุคที่มี หลุยส์ ฟาน กัล นั่งแท่นเป็นกุนซือใหญ่ของทีม  โดยเกมแรกที่เจ้าตัวได้ลงสนามในฐานะนักเตะชุดใหญ่ของ "ปีศาจแดง" คือเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2016 ในศึกยูโรปาลีก ที่ แมนฯ ยูไนเต็ด จัดการเปิดบ้านถล่ม มิดทิลแลนด์ 5-1 ซึ่งเจ้าหนูวัยย่างเข้า 18 ปีในวันนั้นทำผลงานได้อย่างเฉิดฉายราวกับลงเล่นในฟุตบอลระดับสูงมานาน ด้วยการเหมาคนเดียว 2 ประตู แน่นอนไม่ต้องไปพึ่งอำเภอ เพราะเขาสามารถแจ้งเกิดสร้างชื่อได้ด้วยตัวเองจากค่ำคืนวันนั้น ซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียง 3 วัน แรชฟอร์ด ในวันที่ได้ลงเล่นศึกพรีเมียร์ลีก นัดแรกก็จัดการเหมาอีก 2 ประตู ซึ่งเป็นการกระหน่ำใส่ทีมใหญ่อย่าง อาร์เซน่อล ด้วย ไม่แปลกถ้าในวันนั้นแฟนบอลต่างจะยกให้เด็กหนุ่มคนนี้คือปรากฎการณ์ เพราะการออกสตาร์ทกับทีมชุดใหญ่ด้วยผลงานสุดร้อนแรง ไม่แปลกที่ต่อจากนั้น แรชฟอร์ด จะกลายเป็นแข้งตัวหลักในทีมของ ฟาน กัล ไปด้วยปริยาย  แย่จริงไหม? ว่ากันด้วยเรื่องตัวเลขสถิติของ แรชฟอร์ด ทำไมคนถึงด่ามากกว่าชม จบซีซั่นแรกในฐานะแข้งชุดใหญ่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด เจ้าหนู แรชฟอร์ด ได้โอกาสลงสนามในทุกรายการไปทั้งสิ้น 18 นัด ซัดไป 8 ประตู ถือว่าเป็นตัวเลขที่สวยงามไม่น้อยกับดาวรุ่งอย่างเขา ทำให้หลังจากนั้นความคาดหวังเริ่มถูกถาโถมมาใส่ตัวเขาแบบไม่ทันตั้งตัว จากดาวรุ่งที่ถูกหยิบจับมาใช้เพราะทีมขาดแคลนนักเตะ กลายเป็นตัวหลักของทีมในช่วงเวลาที่ไม่ได้ห่างกันมากนัก แม้ในช่วงฤดูกาลถัดมาที่ ฟาน กัล ถูกเชิญลงจากตำแหน่งเก้าอี้กุนซือ และเปลี่ยนมาอยู่ในมือของ โชเซ่ มูรินโญ่ เจ้าหนูคนนี้ก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นแนวรุกตัวหลักของทีมแม้จะมีรุ่นใหญ่อย่าง ซลาตัน อิบราฮิโมวิช เข้ามาเสริมแกร่งในแดนหน้าก็ตาม  หลังจากนั้นไม่ว่ากองหน้าของทีมจะผลัดเปลี่ยนเป็นใครไล่มาตั้งแต่ โรเมลู ลูกากู, โอเดี้ยน อิกาโล่ หรือ เอดินสัน คาวานี่ หรือกุนซือคนไหน ก็มักจะใช้บริการของ แรชฟอร์ด เป็นตัวหลักอยู่เสมอ นับมาถึงตรงนี้ก็เข้าสู่ฤดูกาลที่ 6 แล้ว ที่ แรชฟอร์ด ยืนเป็นกองหน้าคนสำคัญของทีม ว่าแล้วเราลองมาไล่เรียงดูตัวเลขการยิงประตูของ แรชฟอร์ด กันหน่อยว่านับตั้งแต่ปีที่ได้โอกาสขึ้นมายังชุดใหญ่ของสโมสร จวบจนปัจจุบันว่าในแต่ละซีซั่นสถิติของดาวยิงผู้นี้เป็นอย่างไรกันบ้าง … 2015-16 : ลงสนาม 18 นัด ยิง 8 ประตู 2016-17 : ลงสนาม 53 นัด ยิง 11 ประตู 2017-18 : ลงสนาม 52 นัด ยิง 13 ประตู 2018-19 : ลงสนาม 47 นัด ยิง 13 ประตู 2019-20 : ลงสนาม 44 นัด ยิง 22 ประตู 2020-21 : ลงสนาม 37 นัด ยิง 16 ประตู **ยังไม่จบฤดูกาล ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขในการยิงประตูในแต่ละฤดูกาล ถือว่าไม่ได้เยอะมากมายอะไร แต่ก็ไม่น้อยจนน่าเกลียด ซึ่งจะว่าไปด้วยสไตล์การเล่นของ แรชฟอร์ด ไม่ใช่นักเตะประเภทกองหน้าตัวเป้าที่ฝั่งตัวเองอยู่ในกรอบเขตโทษ และะคอยยิงประตู แต่สไตล์ของเขาคือการลงมาล่วงบอลบริเวณกลางสนาม ใช้ความเร็วในการทะยานไปข้างหน้า ก่อนจะตัดสินใจจังหวะสุดท้ายไม่ว่าจะยิง หรือจ่ายให้้เพื่อนร่วมทีม ย้อนกลับไปเรื่องสถิติสักหน่อย เพราะตอนที่ แรชฟอร์ด ฉลองลงเล่นให้ แมนฯ ยูไนเต็ด ครบ 200 นัด ได้มีการทำตัวเลขออกมาว่าดาวยิงทีมชาติอังกฤษมีตัวเลขการยิงประตูที่มากกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ เสียอีกที่จำนวน 64 ต่อ 54 ประตู  แน่นอนตัวเลขตรงนี้มันโกหกไม่ได้ว่า แรชฟอร์ด ดีกว่า โรนัลโด้ จริงๆ แต่ทว่าในเรื่องของการพัฒนามันคือข้อสงสัยที่แฟนบอลต่างตั้งคำถามว่าทำไมเขาไม่สามารถก้าวข้ามคำว่า 'ดาวรุ่ง' และพัฒนาฝีเท้าได้เหมือนรุ่นพี่ทีมชาติโปรตุเกสได้ แย่จริงไหม? ว่ากันด้วยเรื่องตัวเลขสถิติของ แรชฟอร์ด ทำไมคนถึงด่ามากกว่าชม แม้ในช่วงแรก โรนัลโด้ จะมีอาการสับสนั่นโลกจนแฟนบอลเอือมระอา โดนด่าแบบไม่เว้นวัน จนกระทั่งพัฒนาตัวเอง ปรับเปลี่ยนทัศนะคติจนมันทำให้เขาสามารถก้าวขึ้นมาเป็นแข้งเบอร์ต้นของโลกลูกหนังได้อย่างทุกวันนี้ ว่าแล้วตอนนี้สิ่งที่เป็นเหมือนอุปสรรคของ แรชฟอร์ด ก็คงไม่ต่างอะไรจาก CR7 นั้นก็คือเรื่องของทัศนคติ ที่เป็นตัวปิดกั้นสกิลที่ยอดเยี่ยมของฝีเท้า เพราะเรื่องของคุณภาพไม่มีใครตั้งข้อสงสัยว่าเด็กคนนี้มันมีของ มันมีคุณภาพฝีเท้าที่สามารถก้าวขึ้นไปเป็นแข้งเบอร์ต้นของโลกได้ จนถึงขนาดเคยถูกจัดอันดับให้เป็นแข้งค่าตัวประเมินแพงที่สุดของโลกมาแล้ว แต่สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เลยคือเรื่องของความคิด และทัศนคติส่วนตัว … จริงอยู่ว่าในเรื่องของการจบสกอร์เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่จังหวะทีเด็ดทีขาด แรชฟอร์ด มักตกม้าตายง่ายๆ  แต่จุดนั้นมันสามารถแก้ได้ง่ายกว่าเรื่องทัศนคติที่เราเห็นกันในสนาม แย่จริงไหม? ว่ากันด้วยเรื่องตัวเลขสถิติของ แรชฟอร์ด ทำไมคนถึงด่ามากกว่าชม การที่กล้าตะลุยเลี้ยงฝ่าแนวรับคู่แข่งเป็นเรื่องที่ดีมันแสดให้เห็นถึงความมั่นใจในการตัวเอง แต่บางครั้งสิ่งที่ แรชฟอร์ด ควรทำคือเล่นเพื่อทีมมากว่าต้องการโชว์ และเล่นเพียงตัวเอง ทั้งที่รอบข้างต่างมีพร้อมช่วยเหลือ บางครั้งเขาเลี้ยงแบบไม่ลืมหูลืมตา สักแต่ว่าจะเลี้ยงไปข้างหน้าอย่างเดียวจนไม่สนสิ่งรอบข้าง บทสรุปสุดท้ายก็ไม่ต่างกันคือเสียบอลแบบง่ายๆ หรือจังหวะไหนที่ควรจ่าย ก็ต้องจ่าย, จังหวะไหนควรสับไกลเองก็ควรทำไม่ใช่จ่ายให้เพื่อนจนสุดท้ายเสียบอลไปแบบน่าเสียดาย  ซึ่งถ้าเขายังปรับในจุดนี้ไม่ได้ เขาก็จะยังคงมีสถานะเป็นตัวรุ่งตลอดกาลต่อไปอยู่แบบนี้ ฉะนั้นจุดเกิดเหตุที่แฟนบอลมักสาดเสียงวิจารณ์ใส่เขามากที่สุดคือเรื่องของทัศนคติตรงนี้มากกว่า ถ้าปรับเปลี่ยนมันได้แฟนบอลก็ยังคอยซัพพอร์ตอยู่เหมือนเดิม เพลาคำด่าให้น้อยลง และเปลี่ยนเป็นเสียงชื่นชมแทน ส่วนในเรื่องสถิติตัวเลขมันเป็นเรื่องรองมากกว่า เพราะถ้าเขามีส่วนร่วมกับเกม สร้างประโยชน์ให้กับทีม พร้อมผลการแข่งขันที่ยอดเยี่ยม ตัวเลขตรงนั้นแฟนบอลคงแทบจะไม่หยิบยกมันขึ้นมาพูดเลยก็ได้

- เปา ขอบสนาม -

logoline