logo-heading

เกมบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย ที่ไทยปะทะเวียดนามกำลังใกล้เข้ามาแล้ว แน่นอนว่าแฟนบอลชาวไทยตั้งตารอเกมนัดนี้อย่างใจจดใจจ่อ

เราจะได้เชียร์ฟุตบอลไทยระดับนานาชาติอีกครั้ง หนนี้คือลงเตะคัดบอลโลก โซนเอเชีย เป็นหนที่ 14 ของทีมชาติไทย หลังเริ่มต้นส่งทีมครั้งแรกในปี 1974 แม้ว่าไทยจะยังไม่สุขสมหวังในการไปเล่นในรอบสุดท้ายระดับนานาชาติ แต่ที่ใกล้เคียงสุดคือการเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายในปี 2002 และ 12 ทีมสุดท้ายเอเชีย ปี 2018 ตลอด 45 ปีที่ผ่านมา สำหรับการคัดบอลโลกของทีมชาติไทย เราได้ใช้สนามแข่งขันในแดนสยามอยู่ 4 แห่งคือไทย-ญี่ปุ่นดินแดง, ศุภชลาศัย, ราชมังคลากีฬาสถานและช้างอารีน่า ซึ่งหากเกมนัดแรกที่ไทยจะเจอกับเวียดนามที่ธรรมศาสตร์ รังสิต จะเป็นรังเหย้าลำดับที่ 5 ในการคัดเลือกหนนี้ ทีมงานของสนามไล่เลียงข้อมูลก่อนที่บอลโลกรอบคัดเลือกของไทยจะเปิดฉากในวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายนที่กำลังจะมาถึง ไทย-ญี่ปุ่นดินแดง แข่ง 3 ชนะ 1 เสมอ 1 แพ้ 1 4 สังเวียนแข้งทีมชาติไทยที่เคยใช้ในการคัดบอลโลก สนามแห่งแรกที่สมาคมฟุตบอลใช้งานในเกมคัดเลือกฟุตบอลโลก เกิดขึ้นในปรีเวิลด์ คัพ 1985 1 ปีก่อนบอลโลกปี 1986 ที่เม็กซิโก ไทยเกมแรกเปิดหัวไม่สวยบุกแพ้อินโดนีเซีย 0-1 ในยุคของกุนซือประวิทย์ ไชยสาม นัดที่ 2 เปิดบ้านเจอกับบังกลาเทศ ธนิศร์ อารีย์สง่ากุล, ศักดริน ทอง และ วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ จากนั้น 2 เกมถัดมาทีมเสมออินเดีย 0-0 และปราชัยต่ออิเหนาจอมเจ้าเล่ห์ 0-1 สนามศุภชลาศัย แข่ง 11 ชนะ 6 เสมอ 1 แพ้ 4 4 สังเวียนแข้งทีมชาติไทยที่เคยใช้ในการคัดบอลโลก สนามกีฬาที่อยู่ใจกลางเมืองเดินทางสัญจรไปมาได้สะดวก นี่คือรังเหย้าที่อาจไม่ใหญ่มาก แต่รองรับการแข่งขันทุกมหรกรรมในแดนสยามมาช้านาน แต่ด้วยระบบการคัดเลือกฟุตบอลโลกที่สมัยก่อนมีการเตะเหย้าเยือนน้อยมากๆ ส่งผลให้กว่าที่ทีมชาติไทยจะได้จัดแข่งในรังเหย้าเกมแรก เริ่มต้นในการช่วงปี 1989 การคลอลิฟายไปรอบสุดท้ายที่อิตาลี เกมแรกไทยเอาชนะบังกลาเทศไปได้ 1-0 จากประตูชัยของปิยะพงษ์ ผิวอ่อน นอกจากนี้ชัยชนะของไทยในเกมคัดบอลโลก มากสุดก็เกิดขึ้น ณ สนามแห่งนี้ด้วยเช่นกันเป็น เกมที่ถล่มปากีสถานไป 6-0 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เหมา 4 ประตู, นิเวส ศิริวงศ์ และ สุรชัย จิระศิริโชติ ราชมังคลากีฬาสถาน แข่ง 20 ชนะ 4 เสมอ 8 แพ้ 8 4 สังเวียนแข้งทีมชาติไทยที่เคยใช้ในการคัดบอลโลก สังเวียนฟุตบอลที่ใหญ่สุดในประเทศไทยที่เปิดใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียน เกมส์ 1998 ซึ่งเป็นสนามที่ดูแลโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย แต่กว่าที่สนามแห่งนี้จะถูกใช้แข่งคัดบอลโลก เกิดขึ้นในรอบ 10 ทีมสุดท้ายเอเชีย 2002 เกมแรกคือการพบกับอิหร่านที่เสมอกับอิหร่าน 0-0 ทว่ากว่าที่ไทยจะชนะเกมแรกในการคัดบอลโลกที่สนามราชมังคลากีฬาสถานได้ เกิดขึ้นในแมตซ์ที่ชนะยูเออี 3-0 จากประตูของจักรพงษ์ เจียรสถาวงศ์, อานนท์ นานอก, เทิดศักดิ์ ใจมั่น  เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ปี 2004 ในการคัดบอลโลกรอบ 3 2006 ในยุคที่ซิคกี้ เฮลด์ เป็นกุนซือ ช้างอารีน่า (ไอโมบาย สเตเดี้ยม) แข่ง 1 ชนะ 1 4 สังเวียนแข้งทีมชาติไทยที่เคยใช้ในการคัดบอลโลก ครั้งแรกและครั้งเดียวที่เกมคัดบอลโลก ทีมชาติไทย ได้ไปแข่งยังต่างจังหวัด เกิดขึ้นในช่วงปี 2011 ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ในการคัดบอลโลกปี 2014 โดยย้ายวิกไปจัดกันที่บุรีรัมย์ ณ สนามไอโมบาย สเตเดี้ยม หรือช้าง อารีน่าในปัจจุบัน เกมนัดนั้นเป็นรอบที่ 2 เจอกับปาเลสไตน์ ปรากฏว่า ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1-0 จากการยิงของจักรพันธ์ แก้วพรม ดาวเตะเลือดเนื้อเชื้อไขคนบุรีรัมย์ ที่ซัลโวได้ประตูบ้านเกิด

เอ็มเร่

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของ ขอบสนาม
logoline