logo-heading

เข้าสู่โหมดเลือกตั้งนายกสมาคมลูกหนังทีไร...วงการลูกหนังไทย มักจะซุ่มเสี่ยงต่อการถูกแบนจากฟีฟ่า เพราะมีความพยายามลากเข้าไปเกี่ยวดองหนองยุ่งกับการเมืองทุกครั้งไป

โดยเฉพาะการเลือกตั้งครั้งนี้ หนึ่งในผู้สมัครลงชิงตำแหน่ง คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มมีความพยายามนำการเมืองเข้ามาแทรกแซง ซึ่งอาจเข้าข่ายผิด “ธรรมนูญฟีฟ่า” ข้อที่ 19 ว่าด้วยเรื่องความเป็นอิสระของสมาคมฟุตบอลและคณะกรรมการผู้บริหาร คือ 1. สมาคมสมาชิกแต่ละประเทศ จะต้องมีอิสระในการบริหารจัดการ โดยไม่ถูกควบคุมโดยบุคคลที่ 3 2. สมากรรมการของแต่ละสมาคมฯ จะต้องผ่านการเลือกตั้ง หรือ แต่งตั้ง ตามกฎระเบียบของสมาคม โดยจะต้องได้รับความอิสระในการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง เท่านั้น โดยในช่วงที่ผ่านมา สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ได้สั่งแบนห้าม สมาคมฟุตบอลในหลายประเทศ ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขันที่ทาง ฟีฟ่า จัดขึ้น เนื่องจากมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง และยุ่งวุ่นวายการทำหน้าที่อย่างอิสระของสมาคมฯ ในปี 2016 PSSI หรือ สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย ได้ถูกสั่งแบนห้ามส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ ที่ ได้รับการรับรองจากฟีฟ่า เป็นเวลา 2 ปี โดยสาเหตุสำคัญคือ - มีบุคคลที่มีอิทธิพล หรือ กระทรวง หรือ ตัวแทนกระทรวง เข้ามาแทรกแซงการบริหารจัดการองค์กร - การรับผิดชอบ PSSI ไม่ได้อยู่ในอำนาจของ สมาคมฟุตบอล - มีการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลแยกขึ้นมา เพื่อจัดการแข่งขันลีกภายในประเทศที่ฟีฟ่า ไม่ได้รองรับ - มีการจัดทีมชาติแยกขึ้นมาอีกทีม และไม่ปล่อยนักเตะทีมชาติอีกชุดเข้ามาร่วมแข่งขัน ในรายการที่ฟีฟ่า รับรอง - รัฐบาลอินโดนีเซีย เข้ามาแทรกแซงการทำงานของสมาคมฟุตบอล อาทิ การสั่งห้ามแข่งขันลีก จากกระทรวงกีฬาเป็นต้น พร้อมบังคับเรื่องการตัดสินใจ โดยการทำทั้งหมด ที่กล่าวมา ผิดมาตราที่ 13 และ 17 ของฟีฟ่า ที่ระบุว่า สมาคมฟุตบอลของประเทศใดๆ จะต้องไม่ถูกแทรกแซงโดยการเมือง ต่อมาในปี 2017 สมาคมฟุตบอลปากีสถานถูกแบน สาเหตุสำคัญคือ - สมาคมฟุตบอลปากีสถาน ถูกแทรกแซงจากบุคคลที่สามซึ่งเป็นฝ่ายการเมือง นอกจากนี้ ยังมีประเทศที่เคยโดนแบน โดยมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้ - ปี 2004 สหพันธ์ฟุตบอลกรีซ ถูกแบน เมื่อรัฐบาลออกกฏหมายแทรกแซงการบริหารจัดการสมาคมฟุตบอลกรีซ - ปี 2006 สหพันธ์ฟุตบอลอิหร่าน ถูกแบน เนื่องจากการบริหารงานภายในองค์กรไร้อิสระ และมีการเลือกตั้งภายในองค์กรสหพันธ์ฟุตบอลอิหร่านอย่างไม่เหมาะสม - ปี 2007 สหพันธ์ฟุตบอลคูเวต ถูกแบนเนื่องจาก รัฐบาลแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งประธานฝ่ายบริหารของสมาคมฟุตบอลคูเวต - ปี 2009 สหพันธ์ฟุตบอลบรูไน ถูกแบน เนื่องจาก สุลต่านบรูไน และ รัฐบาลแทรกแซงการบริหารของสมาคมฯ โดยใช้อำนาจสั่งให้ยุบสมาคมฯ และ ปฏิรูป - ปี 2008 สหพันธ์ฟุตบอล เปรู ถูกแบนเนื่องจาก รัฐบาลเปรู แทรกแซงสมาคมฯ และไม่ยอมรับการเลือกตั้งของประธานสหพันธ์ฟุตบอลเปรู - ปี 2008 สหพันธ์ฟุตบอลซามัว ถูกแบน เนื่องจาก เกิดการบริหารงานที่ทับซ้อนภายในองค์กร - ปี 2010 สหพันธ์ฟุตบอล ไนจีเรีย ถูกแบน เนื่องจาก รัฐบาลแทรกแซงการบริหารงานของสหพันธ์ หลังไม่พอใจผลงานในฟุตบอลโลกของทีม - ปี 2008 สหพันธ์ฟุตบอลเอธิโอเปีย ถูกแบน เนื่องจากไม่แก้ไขปัญหาตามธรรมนูญกับฟีฟ่า - ปี 2009 สหพันธ์ฟุตบอลอิรัก ถูกแบน เนื่องจาก รัฐบาลแทรกแซงการบริหารงานของสหพันธ์ฟุตบอลอิรัก และใช้อำนาจอันมิชอบในการสั่งปลดผู้บริหารบางราย - ปี 2013 สมาคมฟุตบอลแคเมอรูน ถูกแบน เนื่องจาก รัฐบาลแทรกแซงการทำหน้าที่บริหารงาน และการเลือกตั้งในสมาคมฟุตบอลแคเมอรูน - ปี 2015 สหพันธ์ฟุตบอล คูเวน ถูกแบน เนื่องจาก รัฐบาลแทรกแซงกระบวนการบริหาร และแก้ไขกฎ ข้อบังคับด้านกีฬาภายในประเทศ ที่ขัดแย้งกับกฎของฟีฟ่า สำหรับ ปัจจุบัน “ช้างศึก” ยังคงมีลุ้นผ่านเข้าสู่รอบ 12 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย โดยสถานการณ์ในกลุ่มจี โดยทีมชาติไทยยังเหลืออีก 3 เกม คือ เปิดบ้านพบ อินโดนิเซีย ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 จากนั้นในวันที่ 4 มิถุนายน 2563 จะบุกไปเยือน ยูเออี และปิดท้ายด้วยเกมเปิดบ้านรับมาเลเซีย วันที่ 9 มิถุนายน 2563
logoline