logo-heading

นับตั้งแต่เทคโนโลยี VAR (Video assistant referee) หรือ วีดีโอช่วยตัดสินย้อนหลัง ถูกบรรจุเข้ามาใช้เป็นตัวช่วยผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตบอลรายการหลักๆ กินเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง เสียงวิจารณ์ตามมามากมาย

บ้างก็ว่าดี, บ้างก็ว่าแย่, บ้างก็ว่าโปร่งใส่ และ บ้างก็ว่าทำลายมนต์เสน่ห์แห่งวงการลูกหนัง แต่สำหรับแฟน แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด อาจบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "ถ้ามีแล้วมันไม่ดี อย่ามีมันเสียดีกว่า" ย้อนกลับไปเกมที่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ไปเยือน ฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์ ในศึก เอฟเอ คัพ พวกเขาสามารถล้างแค้นบุกไปทุบชนะ 2-0 เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 17 ก.พ. ที่ผ่านมา ด้วยฝีเท้าของ โรเมลู ลูกากู ศูนย์หน้าค่าตัว 75 ล้านปอนด์ ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมไปตามความคาดหมาย มันควรจะเป็นวันที่เสียงแซ่ซ้องยกยอไปถึงฟอร์มการเล่นของนักเตะ "ปีศาจแดง" แต่ตัวขโมยซีนชั้นดีดันกลายเป็นการทำหน้าที่ของ "วีเออาร์" ที่ทำให้แฟนบอลเกิดข้อสงสัยในวิธีการของมัน ขออธิบายคร่าวๆก่อนว่า VAR ไม่ได้ซับซ้อน และมี 4 กรณีที่ผู้ตัดสินสามารถขอดูได้ กรณีแรก เมื่อลูกเป็นประตู มาต้า ผู้เปิดโปงความเน่าของ VAR เมื่อลูกเข้าประตูไปแล้ว แต่ยังคงมีจังหวะปัญหาหลายๆครั้งว่ามีการฟาวล์เกิดขึ้นก่อนไหม ? หรือมีนักเตะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าก่อนหรือเปล่า ? ซึ่งผู้ตัดสินสามารถขอดู VAR เพื่อความกระจ่างอีกครั้ง กรณีสอง เป็นจุดโทษหรือไม่ มาต้า ผู้เปิดโปงความเน่าของ VAR เมื่อเกิดเหตุการณ์ปะทะในกรอบเขตโทษ หรือจังหวะก้ำกึ่งว่าเป็นการฟาวล์ในกรอบหรือนอกกรอบ แต่ผู้ตัดสินมองเห็นเหตุการณ์ไม่ชัดเจน ก็สามารถขอดูจาก VAR ได้เช่นเดียวกัน กรณีสาม ใบแดงโดยตรง มาต้า ผู้เปิดโปงความเน่าของ VAR ขึ้นชื่อว่าฟุตบอล ย่อมมีการเข้าปะทะกันอย่างหนักหน่วงหลายต่อหลายครั้ง และบางทีการเข้าหนักๆ ก็เล็ดลอดสายตาผู้ตัดสินได้เช่นเดียวกัน แต่เมื่อมีวีดีโอเข้ามาช่วยกรรมการผู้ชี้ขาด สามารถตรวจสอบได้จาก VAR และแจกใบแดงให้กับผู้เล่นย้อนหลังได้ทันที กรณีสี่ แจกใบเหลือง-ใบแดงผิดคน มาต้า ผู้เปิดโปงความเน่าของ VAR หลายคนคงจำเหตุการณ์ที่ อังเดร มาริเนอร์ ผู้ตัดสินในศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ แจกใบแดงผิดคน ด้วยการไล่ คีแรน กิ๊บบ์ส อดีตแบ็กซ้าย อาร์เซน่อล ออกจากสนาม ในแมตช์แพ้ เชลซี 0-6 ทั้งที่ความจริงแล้วควรต้องเป็น อเล็กซ์ อ็อกซ์เลด แชมเบอร์เลน เจตนาใช้มือปัดบอลบนเส้นเขตโทษ ซึ่ง VAR จะทำให้ปัญหานี้หมดไป จาก 4 กรณีที่่ว่ามานี้ มันดันตรงกับเหตุการณ์ระหว่างเกม ฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์ กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด หลังมีจังหวะที่ แอชลี่ย์ ยัง ผ่านเข้าไปให้กับ ฆวน มาต้า หลุดเข้าไปยิงให้ทีมขึ้นนำ 2-0 แต่ผู้ตัดสิน เควิน เฟรนด์ ตุลาการในสนาม ไม่มั่นใจว่าลูกดังกล่าวมันล้ำหน้าหรือไม่ ทั้งที่ไลน์แมนไม่ยกธง จึงพูดคุยขอคำปรึกษาไปยังเจ้าหน้าที่ผู้คอยตรวจสอบระบบ VAR ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 3 คน ล้วนแต่ผ่านการอบรมมาจาก ฟีฟ่า มาแล้วทั้งนั้น เจ้าหน้าที่ VAR ส่งรายละเอียดกลับมายังผู้ตัดสินว่าลูกยิง มาต้า เป็นจังหวะออฟไซด์ ในตอนนั้น "เควิน เฟรนด์" มีทางเลือกอยู่ 2 ทาง คือเชื่อข้อมูลจากทีมงาน หรือ จะเลือกเดินไปดูมอร์นิเตอร์ ที่เตรียมไว้ให้ด้านข้างสนาม เพื่อตัดสินใจอีกครั้ง สุดท้าย เควิน เฟรนด์ เลือกเชื่อทีมงานทันที ก่อนจะปฏิเสธให้ประตูกับ แมนฯ ยูไนเต็ด .. เหมือนทุกอย่างจะจบลง เพราะการทำงานของ VAR มีความโปร่งใส่ และตรวจสอบได้ จนกระทั่ง "กราฟฟิค" ตีเส้นขึ้นมาให้เห็นว่าล้ำหน้าหรือไม่นั้น กลายเป็นถูกตั้งคำถามไปทั่วโลกโซเชียล วีดีโอช่วยตัดสินย้อนหลัง มันยุติธรรมแล้วหรือไม่ ? เพราะกราฟฟิคที่ขึ้นมาพยายามฟ้องจังหวะล้ำหน้าของ มาต้า มันกลับเบี้ยวเหลือเชื่อ เหมือนอยากจะตีเส้นตรง แต่ดันไม่มีไม้บรรทัด เพราะมองมุมไหนก็ไม่มีทางตรงตามไลน์ของสนามอย่างแน่นอน ยิ่งเทียบกับจังหวะถ่ายทอดสด ตัวของ มาต้า แทบอยู่ในแนวเดียวกับผู้เล่น ฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์ เลยด้วยซ้ำ ความผิดครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่ เควิน เฟรนด์ แต่มันเป็นความผิดของ "VAR" ล้วนๆ ความคิดเห็นของ มูรินโญ่ แสดงเอาไว้อย่างน่าสนใจหลังจบเกมที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ชนะ ฮัดเดอร์สฟิลด์ ถึงการทำหน้าที่ของ "วีเออาร์" "เมื่อการตัดสินมันมีข้อกังขา ย่อมไม่ใช่เรื่องดี แต่ถ้ามันเป็นการตัดสินที่ถูกต้อง ผมจะมีความสุขมากๆ เพราะผมเองก็ต้องการความถูกต้องเช่นกัน บางครั้งการตัดสินมันอาจไม่เข้าทางทีม แต่บางครั้งมันก็เป็นใจให้กับทีมผมเหมือนกัน อย่างไรก็ตามบางทีผู้ช่วยผู้ตัดสินอาจเป็นคนตัดสินใจถูกต้อง ไม่ใช่ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่นั่งอยู่ในสตูดิโอ" ถึงตรงนี้ VAR มีข้อพิพาทให้ถกเถียงกันอีกหลายประเด็น เพราะอะไรถึงยังมีความบกพร่อง ? ทำไมผู้ตัดสินถึงไม่วิ่งไปดูวีดีโอย้อนหลังที่ข้างสนาม ทั้งที่ใช้เวลาวิ่งไปไม่ถึง 10 วินาที เขาคือคนที่มีอำนาจสูงสุด จดจ้องเหตุการ์ในสนามอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่เกิดกรณีศึกษาแบบจังหวะ มาต้า ก็คงไม่ได้ทราบถึงข้อเสีย (ที่มากขึ้น) ของ VAR ไม่ได้รีบร้อนให้เร่งดำเนินการแก้ไข แต่เมื่อนำ VAR มาใช้แล้ว ก็หวังว่ามันจะต้องโปร่งใสมากกว่าเดิม
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของ ขอบสนาม
logoline